ภาวะกลืนลำบาก ฟื้นฟูได้ด้วยการฝึกกลืน

ศูนย์ : ศูนย์กระดูกและข้อ, ศูนย์กระดูกและข้อ

บทความโดย :

ภาวะกลืนลำบาก ฟื้นฟูได้ด้วยการฝึกกลืน


ภาวะกลืนลำบากส่งผลอย่างไร

ภาวะกลืนลำบาก ทำให้ความสามารถในการกลืนอาหารและน้ำนั้นลดลง และทำให้เกิดการสำลักตามมาได้ ส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ เพราะผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากจะพยายามหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารเพราะกลัวการสำลักหรือรู้สึกว่ากลืนลำบาก อาจมีภาวะขาดน้ำ ขาดอาหาร น้ำนักลด ทำให้ร่างกายอ่อนแอมากยิ่งขึ้นเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะภาวะติดเชื้อในปอดและระบบทางเดินหายใจจากการสำลักน้ำหรืออาหาร บางรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ และบางกรณีความกังวลในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า มีผลทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงได้อีกด้วย ฉะนั้นผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก จึงควรได้รับการฝึกกลืน ด้วยการบริหารฝึกขยับปาก ขยับลิ้น แก้ปัญหากลืนลำบาก เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ

> กลับสารบัญ


ทำไมต้องรับการฝึกกลืน

การฝึกกลืน หรือ การออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการกลืน เป็นการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนลำบาก มีเป้าหมายในการช่วยให้ผู้ป่วยกลืนอาหารและน้ำได้อย่างปลอดภัย ได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ ป้องกันภาวะปอดอักเสบจากการสำลัก กระตุ้นให้สามารถกลับมารับประทานอาหาร และแข็งแรงได้ดังเดิม

> กลับสารบัญ


ใครบ้างที่ต้องรับการฝึกกลืน

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากจากโรคทางระบบประสาทและสมอง เช่น เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก , โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงต่าง ๆ หรือ พาร์กินสัน
  • ผู้ป่วยสูงอายุกลืนลำบาก จากความเสื่อมของกลไกการกลืนตามช่วงอายุ และจากภาวะอัลไซเมอร์
  • ผู้ป่วยกลืนลำบากเนื่องจากเนื้องอกบริเวณโพรงจมูก ช่องปาก และคอ ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดและฉายรังสี

> กลับสารบัญ


เวชศาสตร์ฟื้นฟู ฟื้นฟูความสามารถในการกลืน

ภาวะกลืนลำบาก สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไอสำลักขณะกลืนน้ำและ/หรืออาหาร กลืนลำบาก กลืนไม่ได้ รับประทานแล้วมีภาวะปอดติดเชื้อซ้ำ ๆ จะได้รับการประเมินโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ร่วมกับนักกิจกรรมบำบัด เพื่อพิจารณาความปลอดภัยในการรับประทาน ปรับลักษณะอาหารและท่าทางในการรับประทานเพื่อช่วยลดการสำลัก รับโปรแกรมฝึกกลืนเฉพาะตัวในแต่ละบุคคล

โดยนักกิจกรรมบำบัดจะแนะนำท่าออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อที่ใช้ในการการกลืน เช่น กล้ามเนื้อช่องปาก ลิ้น ขากรรไกรและลำคอ เพื่อบำบัดรักษาตามขั้นตอนให้ผู้ป่วยฟื้นฟูได้ดีขึ้น

> กลับสารบัญ


ท่าบริหารกล้ามเนื้อช่องปาก ที่ใช้ในการกลืนเบื้องต้น

นักกิจกรรมบำบัดจะแนะนำท่าออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน เช่น กล้ามเนื้อช่องปาก ลิ้น ขากรรไกรและลำคอ เพื่อบำบัดรักษาตามขั้นตอนให้ผู้ป่วยฟื้นฟูได้ดีขึ้น ซึ่งท่าบริหารกล้ามเนื้อง่ายๆ ที่ใช้ในการกลืนจะมีอยู่ 2 ส่วน ที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ โดยทำวันละ 3 ครั้ง ก่อนมื้ออาหาร เช้า กลางวัน และเย็น ได้แก่

  1. บริหารริมฝีปาก
    1.1 ท่าฉีกยิ้ม ยกมุมปาก 2 ข้างให้เท่ากัน โดยเริ่มฉีกยิ้ม จากนั้นหุบปากค้างไว้ 5-10 วินาที โดยไม่กลั้นหายใจ ทำอย่างน้อย 5 ครั้ง
    1.2. ท่าปากจู๋ โดยเริ่ม ทำปากจู๋ จากนั้นหุบปาก ทำอย่างน้อย 5 ครั้ง
    1.3. ท่าเม้มปาก โดยเริ่มเม้มปาก จากนั้นปล่อย ทำอย่างน้อย 5 ครั้ง
    1.4. ท่าอ้าปากกว้าง โดยทำค้างไว้ 5-10 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง
    1.5. ท่าแก้มป่อง โดยทำค้างไว้ 5-10 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง
  2. บริหารลิ้น
    2.1 ท่าแลบลิ้นแตะมุมปากซ้าย-ขวา ทำอย่างน้อย 5 ครั้ง
    2.2 ท่าดันกระพุ้งแก้มซ้าย-ขวา โดยใช้ลิ้นดันกระพุ้งแก้มซ้าย-ขวา ทำอย่างน้อย 5 ครั้ง
    2.3 ท่าแตะริมฝีปากบนและล่าง โดยแลบลิ้นแตะริมฝีปากบนและล่าง ทำอย่างน้อย 5 ครั้ง

> กลับสารบัญ


อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก ส่งผลกระทบแก่ตัวเองและครอบครัว เพราะเมื่อรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะขาดสารอาหาร และเมื่อเกิดสำลักอาหารอาจทำให้อาการทรุดลง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้นควรเข้ามารับการรักษาฟื้นฟูโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกิจกรรมบำบัดที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญภาวะกลืนลำบาก ทั้งนี้ทางรพ.นครธนยังมีเครื่องมือกระตุ้นการกลืน Vital Stim ที่จะช่วยให้สามารถฝึกกลืนได้มากยิ่งขึ้น โดยสามารถสอบถามข้อมูลหรือปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้เลย




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย