กายบริหารหลังการรักษา สำคัญกับโรคกระดูกสันหลัง

ศูนย์ : ศูนย์กระดูกสันหลัง

บทความโดย : นพ. สิทธิพงษ์ สุทธิอุดม

กายบริหารหลังการรักษา สำคัญกับโรคกระดูกสันหลัง

นอกจากการปรับท่าทางในชีวิตประจำวัน ที่จะเสี่ยงต่อการปวดหลังแล้ว การออกกำลังกาย หรือกายบริหารร่างภายหลังเข้ารับการรักษาโรคกระดูกสันหลังจากการผ่าตัดถือว่ามีความสำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลัง มีความแข็งแรง ช่วยลดแรงกดที่กระดูกสันหลัง และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บน้อยลง แต่ก่อนที่จะทำกายบริหารเพื่อความปลอดภัย และรับทราบถึงท่าที่ถูกต้อง ผู้ป่วยจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด

ผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนล่างนั้นใน 24-48 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด ควรลุกเดินให้เร็วที่สุด รวมไปถึงการฝึกหายใจ และเรียนรู้วิธีการใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงหลังที่ถูกต้องจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด รวมไปถึงการประคบเย็นและใน 1-3 สัปดาห์แรก สามารถนั่ง ยืน เดิน ขึ้นลงบันไดได้ในท่าที่ถูกต้อง โดยแต่ละท่าจะทำได้นานไม่เกิน 30 นาที หรือทำแต่ละกิจกรรมข้างต้นเท่าที่ทำได้ แต่ยังคงต้องใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงหลังอยู่ประมาณ 1 เดือนแรก


การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง


สัปดาห์ 0-2 สามารถออกกำลังกายได้แบบเบาๆ แต่หากมีอาการปวดหลังขณะทำ หรือร้าวลงขาให้หยุดพักทันที โดยมีท่าดังนี้
1. ท่าบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนล่าง นอนราบกับพื้นชันเข่าขึ้นทั้ง 2 ข้าง หายใจเข้าทางจมูกหายใจออกทางปากยาว พร้อมกับเกร็งหน้าท้องส่วนล่าง การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
2. ท่ากระดกข้อเท้าขึ้น-ลง โดยนอนราบกับพื้นพร้อมกระดกข้อเท้าชี้หาเพดาน กระดกปลายเท้าลงหาพื้น ทั้งสองข้าง ทำค้างไว้ 5-10 วินาที ในแต่ละท่า การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
3. ท่าบริหารกล้ามเนื้อต้นขา นอนราบกับพื้นลากเท้าโดยงอเข่างอสะโพกขึ้นและลากลง ให้ทำสลับข้าง การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
4. ท่าบริหารกล้ามเนื้อสะโพก นอนราบกับพื้นกางสะโพกด้านข้างแล้วดึงกลับเข้ามา ทำสลับข้าง การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
สัปดาห์ 2-4 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 เริ่มมีการยืดกล้ามเนื้อหลังและขาได้ ดังนี้
1. ท่ายืดหลังส่วนล่าง นอนหงาย งอเข่า งอสะโพกทีละข้าง ให้มีความรู้สึกตึงบริเวณหลัง ค้างไว้ 5-10 วินาที จากนั้นให้ทำสลับข้าง การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
2. ท่ายืดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง นอนหงายชันขาสองข้าง บิดขาไปด้านเดียวกัน ค้างไว้ 5-10 วินาที จากนั้นทำสลับขวาซ้าย การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
3. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง นอนหงายนำผ้าขนหนูคล้องปลายเท้า ยกขาขึ้นทีละข้าง ออกแรงดึงผ้าเข้าหาตัว ข้อเท้ากระดกขึ้นให้มีความรู้สึกตึงต้นขาด้านหลัง ค้างไว้ 5-10 วินาที การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
4. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า นอนคว่ำเอาหมอนรองใต้ท้อง งอขาทีละข้างดึงขาให้ชิดเข้าหาลำตัว ค้างไว้ 5-10 วินาที การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
สัปดาห์ที่ 6 เป็นต้นไป สามารถเริ่มการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อหน้าท้อง และสามารถยืดกล้ามเนื้อหลังได้ ทั้งนี้ ในแต่ละท่าออกกำลังกาย ขณะทำต้องไม่มีอาการเจ็บหลัง และระวังอย่าให้หลังแอ่นหรือหลังงอมากเกิน
1. ท่ายืดหลังส่วนล่าง นอนหงายยกขาไขว้ตรงข้ามพร้อมกับบิดลำตัวไปพร้อมกัน ค้างไว้ 5-10 วินาที จากนั้นทำสลับข้าง การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
2. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง นอนหงายยกขาสูงทีละข้าง ค้างไว้ 5-10 วินาที การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
3. ท่าเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนบน นอนหงายชันเข่าสองข้าง วางแขนราบกับพื้นเตียงยกศีรษะและสะบักขึ้นให้พ้นเตียงเล็กน้อย ค้างไว้ 5-10 วินาที การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
4. ท่าออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหน้าท้อง นอนหงายชันเข่าสองข้าง นำมือซ้ายแตะที่เข่าขวา ส่วนมือขวาวางราบกับพื้นเตียง ค้างไว้ 5-10 วินาที จากนั้นทำสลับข้าง การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
5. ท่าออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง นอนคว่ำหมอนรองใต้ท้อง เหยียดขาตรงยกขึ้นทีละข้าง ขาซ้ายสลับกับขาขวา จากนั้นให้ยกแขนขึ้น ทีละข้างสลับซ้ายขวา เมื่อกล้ามเนื้อหลังแข็งแรงขึ้น สามารถทำให้ยากขึ้น โดยการให้ยกแขนกับยกขาด้านตรงข้าม พร้อมกัน ค้างไว้ 5-10 วินาที จากนั้นทำสลับข้าง การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
6. ท่าเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อก้นและกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว นอนหงายวางแขนราบกับเตียง ยกสะโพก ยกก้นขึ้นให้พ้นเตียง ค้างไว้ 5-10 วินาที การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง
7. ท่าออกกำลังกายหลังและยืดกล้ามเนื้อหน้าท้อง นอนคว่ำเอาหมอนรองใต้ท้องให้หลังไม่แอ่น ตั้งศอกจากนั้นใช้มือยันลำตัวขึ้น ค้างไว้ 5-10 วินาที การออกกำลังกายหลังการรักษาโรคกระดูกสันหลัง

หลังจาก 6 สัปดาห์สามารถออกกำลังกายเบาๆ และทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ อาทิ ปั่นจักรยานที่มีพนักพิง เดินบนลู่วิ่ง ประมาณ 15-30 นาที สัปดาห์ละ 4 วัน และควรเลี่ยงการออกกำลังกายที่ทำให้เกิดแรงกระแทกต่ออวัยวะส่วนต่างๆ เช่น กิจกรรมหรือกีฬาที่ต้องออกแรงวิ่ง กระโดด อาทิ ฟุตบอล กอล์ฟ โบว์ลิ่ง เป็นต้น


หมายเหตุ: ข้อมูลนำมาจาก คำแนะนำการออกกำลังกายหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู


Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย