ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ ด้วยการฉีดวัคซีน HPV ในเด็ก ตั้งแต่ 9 ขวบ

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพสตรี, ศูนย์สุขภาพเด็ก

บทความโดย :

ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ ด้วยการฉีดวัคซีน HPV ในเด็ก ตั้งแต่ 9 ขวบ

ท่ามกลางเชื้อไวรัส HPV (Human papilloma virus) กว่า 100 สายพันธุ์ มีราว 40 สายพันธุ์ที่ส่งผลต่ออวัยวะเพศ เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นโรคมะเร็งอันดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยและทั่วโลก ตามข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ

เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางเพศสัมพันธ์ทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก รวมถึงการสัมผัสผ่านทางบาดแผลตามร่างกาย และจากแม่สู่ลูกในขณะคลอดได้ ดังนั้น การฉีดวัคซีน HPV ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก จะยิ่งเพิ่มโอกาสป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้น


วัคซีน HPV คืออะไร?

วัคซีน HPV, วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีน HPV, วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก


ยิ่งฉีดเร็ว ยิ่งป้องกันโรคได้มากขึ้น

วัคซีน HPV จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อฉีดก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก โดยจะเป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้นแขน สามารถฉีดได้ตั้งแต่ 9 ขวบเป็นต้นไป

สำหรับเด็กอายุ 9-14 ปี ควรได้รับวัคซีน 2 เข็ม โดยเว้นระยะห่าง 6 เดือน ส่วนผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป ควรได้รับวัคซีน 3 เข็ม โดยเข็มที่สองห่างจากเข็มแรก 1 เดือน เข็มที่สาม หากจากเข็มที่สอง 6 เดือน


ต้องตรวจภายในก่อนฉีดวัคซีนหรือไม่?

พญ.นิศารัตน์ สุนทราภา แพทย์เฉพาะทางสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา/เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลนครธน ได้ให้คำแนะนำว่า สามารถฉีดวัคซีน HPV ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อ HPV ก่อน อย่างไรก็ตาม ยังสามารถรับวัคซีนได้แม้จะติดเชื้อ HPV ไปแล้ว ไม่ว่าสายพันธุ์ใดก็ตาม แต่วัคซีนจะไม่สามารถรักษาหรือป้องกันการเกิดโรคจากสายพันธุ์ HPV ที่ติดไปแล้วได้ ทำได้เพียงป้องกันการเกิดโรคจากเชื้อสายพันธุ์ที่ยังไม่ติดเท่านั้น


ผู้ชายก็ควรฉีดวัคซีน HPV ด้วย!

การติดเชื้อ HPV ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้หญิง แต่ผู้ชายก็ไม่ควรนิ่งนอนใจในทุกกรณี เพราะไม่ว่าจะเคยมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ จะมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชาย ก็มีโอกาสติดได้ไม่ต่างกัน เพราะเชื้อ HPV ติดผ่านผิวหนังที่มีบาดแผลด้วย

สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ก็มีโอกาสติดเชื้อที่ทวารหนักได้อยู่ดี เพราะเชื้ออาจเดินทางมาจากอวัยวะส่วนอื่น เช่น ช่องคลอด ก็ได้ ซึ่งเชื้อ HPV สามารถก่อให้เกิดโรคร้ายแรงในผู้ชายได้ไม่ต่างจากผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งทวารหนัก และหูดที่อวัยวะเพศ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ชายที่ติดเชื้อยังอาจเป็นพาหะส่งต่อเชื้อไปยังคู่นอนของตัวเองด้วย


ใคร “ไม่ควร” ฉีดวัคซีน HPV?

แม้จะช่วยป้องกันโรคมะเร็งร้ายได้ แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่ พญ.นิศารัตน์ บอกว่าไม่ควรฉีดวัคซีน HPV คือ คนที่แพ้ยีสต์ แพ้ขนมปัง คนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น กำลังให้เคมีบำบัด เพราะจะทำให้การกระตุ้นให้มีภูมิไม่ได้ผล รวมถึงผู้ที่มีอาการป่วย ติดเชื้อ ก็ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อนจนกว่าจะหายดี

เช่นเดียวกับคนที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ แม้จะไม่มีข้อมูลยืนยันว่า วัคซีน HPV มีผลต่อทารกในครรภ์ แต่คุณหมอก็แนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนในช่วงนี้

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ได้ฉีดเข็มที่ 1 ไปแล้ว ก็สามารถฉีดเข็มถัดไปหลังจากคลอดได้เลย โดยไม่ต้องนับหนึ่งใหม่ และถ้ามีการฉีดวัคซีนโดยไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ ก็ไม่จำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์แต่อย่างใด


ที่มา :

  • Hdmall, สรุปจบในหน้าเดียว! วัคซีน HPV คืออะไร?
  • Hdmall, วัคซีน HPV ป้องกันโรคอะไรได้บ้าง?
  • Centers for Disease Control and Prevention, When Should My Child Get the HPV Vaccine?

Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย