โรคเกาต์ ข้ออักเสบที่ต้องระวัง

ศูนย์ : ศูนย์กระดูกและข้อ

บทความโดย :

โรคเกาต์ ข้ออักเสบที่ต้องระวัง

โรคเกาต์ (GOUT) เป็นโรคที่เกิดจากการมีกรดยูริกสะสมในร่างกายมากเกิน แล้วตกผลึกเป็นรูปของเกลือยูเรต ความผิดปกติในโรคนี้เป็นผลมาจากผลึกของเกลือยูเรต ทำให้เกิดการอักเสบ โดยมีอาการสำคัญ คือ ข้ออักเสบ นอกจากนี้ บางคนอาจมีก้อนใต้ผิวหนัง ไตอักเสบ และนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้

โรคเกาต์ มีอาการอย่างไร?

โรคนี้ส่วนใหญ่เป็นในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป (บางคนอาจเป็นตั้งแต่อายุน้อยกว่า 40 ปีแต่น้อยมาก) โดยจะมีข้ออักเสบซึ่งเป็นอย่างรวดเร็วและรุนแรง มักเป็นที่ข้อเท้านิ้วหัวแม่เท้า และเข่าแต่ที่อื่นก็เป็นได้ ข้อที่อักเสบจะบวมร้อน กดแล้วรู้สึกเจ็บ เวลาเดินอาจปวดมากขึ้นหรือเดินไม่ได้เลย ส่วนใหญ่การอักเสบจะหายได้เองในเวลา 1 สัปดาห์ ถ้าได้ยาจะหายเร็วขึ้น เมื่อหายแล้วอาจเป็นขึ้นใหม่ได้อีก ทำให้เกิดข้ออักเสบ เป็นๆหายๆ ระยะแรกมักเป็นไม่บ่อย แต่เมื่อทิ้งไว้ โดยไม่ได้รับการรักษาจะเป็นบ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งข้อที่เป็นอยู่ก่อน ยังไม่ทันหายก็เป็นข้อใหม่ขึ้นมาอีก อาจมีสิ่งกระตุ้นทำให้ข้ออักเสบขึ้นได้ เช่น การดื่มเหล้า เบียร์ การออกกำลังกายมากๆ การกินอาหารที่มีสารพิวรีน (ซึ่งเมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดยูริก) มาก เช่น พวกเครื่องในสัตว์หรือ การได้รับยาบางอย่างเช่นยาขับปัสสาวะบางชนิด ยารักษาโรคเกาต์เอง ก็อาจเป็นสาเหตุให้ข้ออักเสบได้ ถ้าได้ยาไม่ถูกวิธี

บางคนอาจเกิดไตวายเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การเกิดผลึกเกลือยูเรต การมีนิ่ว ความดันโลหิตสูงและการติดเชื้อที่ไตการรักษาจะป้องกันไม่ให้ไตเสียไปได้ ผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูง โดยไม่มีความผิดปกติอื่นไม่ถือว่าเป็นโรคเกาต์ และไม่มี ความจำเป็นต้องกินยาเพื่อลดกรดยูริกแต่พึงระวังว่ามีโอกาสจะเป็นโรคเกาต์ในอนาคตได้ เมื่อเป็นแล้วจึงเริ่มกินยาก็ไม่เป็นการสายเกินไป


การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรคเกาต์ที่แน่นอนที่สุด คือ การตรวจพบผลึกของเกลือยูเรตในน้ำไขข้อ หรือจากก้อนใต้ผิวหนัง โดยใช้เข็มดูดไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ แต่ในบางคน ที่ลักษณะของโรคชัดเจนอาจวินิจฉัยได้โดย อาศัยประวัติการมีข้ออักเสบร่วมกับลักษณะอาการ เพศ และอายุของผู้ป่วย โดยไม่ต้องตรวจหาผลึกดังกล่าว อาจมีการเข้าใจว่าเมื่อมีข้ออักเสบแล้ว ตรวจระดับกรดยูริกในเลือดได้สูงก็สรุปว่าเป็นโรคเกาต์ ความจริงข้ออาจอักเสบจากสาเหตุอื่นได้ นอกจากนี้ในคนที่เป็นโรคเกาต์ส่วนหนึ่งพบว่ากรดยูริกในเลือดไม่สูงในขณะที่มีข้ออักเสบ ดังนั้น การตรวจวัดกรดยูริกในเลือดอาจทำให้ไขว้เขวได้เหมือนกัน ถ้าไม่พิจารณาให้รอบคอบ


แนวทางการรักษาโรคเกาต์

หลักการรักษาโรคเกาต์ คือ การลดระดับกรดยูริกในร่างกายและป้องกันการกำเริบของการอักเสบในข้อ แบ่งเป็น

การรักษาทั่วไป ได้แก่ งดการดื่มสุรา เลี่ยงการนอนดึก หรือภาวะเครียดในรายที่อ้วนควรลดน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ดื่มน้ำมากๆ ให้เพียงพอ เพื่อเพิ่มการขับยูริกจากร่างกาย และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง

การควบคุมอาหาร เป็นอีกส่วนหนึ่งของการรักษา การควบคุมอาหารจะทำให้กรดยูริกในเลือดลดลง แต่ยังไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องใช้ยา การควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัดมีความจำเป็นในผู้ที่ไตไม่ดี และผู้ที่มีก้อนใต้ผิวหนังโดยเฉพาะ เมื่อกินยาจนระดับกรดยูริกในเลือดไม่เลือดไม่สูงแล้ว อาจไม่มีความจำเป็นต้องควบคุมอาหารมากนัก


อาหารที่มีพิวรีนสูง
(มากกว่า150 มก./อาหาร100 กรัม)
ควรงดอาหารดังต่อไปนี้
อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง
(50-150 มก./อาหาร100 กรัม)
ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังต่อไปนี้
  • ตับอ่อน
  • เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
  • ไข่ปลา
  • หอย
  • ปลาไส้ตัน
  • ปลาอินทรีย์
  • ปลาดุก
  • ปลาซาร์ดีนกระป๋อง
  • แตงกวา
  • กุ้งชีแฮ
  • มันสมองวัว
  • ชะอม
  • สะเดา
  • กระถิน
  • ซุปก้อน
  • น้ำสลัดเนื้อ
  • ถั่วดำ
  • ถั่วแดง
  • ถั่วเขียว
  • ถั่วเหลือง
  • เนื้อหมู
  • เนื้อวัว
  • เนื้อแกะ
  • ปลากะพงแดง
  • ปลาหมึก
  • ปู
  • ใบขี้เหล็ก
  • สะตอ
  • ข้าวโอ๊ต
  • ผักขม
  • เมล็ดถั่วลันเตา
  • หน่อไม้

การรักษาด้วยการใช้ยา

การรักษาด้วยการใช้ยา ได้แก่ ยาสำหรับรักษาข้ออักเสบ ยาสำหรับป้องกันการเกิดข้ออักเสบ ยาสำหรับการลดกรดยูริก โดยการจะให้ยาแพทย์ผู้รักษาจะพิจารณา โดยดูความผิดปกติที่เป็นขณะนั้นเป็นหลัก แต่การรักษาระยะยาวคือ การให้ยาสำหรับลดกรดยูริกซึ่งจะต้องกินไปตลอด การรักษาที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ไม่เกิดข้ออักเสบที่ทุกข์ทรมาน ก้อนที่ใต้ผิวหนัง ถ้ามีจะยุบลง และจะหยุดยั้งไม่ให้ไตที่เริ่มเสียเสียไปมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าไม่รักษาจะทำให้สิ่งที่กล่าวมาเป็นมากขึ้น


ระยะที่มีข้ออักเสบ

ควรลดการใช้งานหรือลงน้ำหนักข้อที่มีอาการ ใช้ความร้อนประคบหรือแช่บริเวณที่มีการอักเสบ หลีกเลี่ยงการนวดที่รุนแรงหรือบีบรัดแน่นรับประทานยาต้านอักเสบหรือยาโคล์ชิซีน (colchicines) ตามแพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมแอสไพรินหรือสเตียรอยด์เองเพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง


การป้องกันข้ออักเสบซ้ำ

โดยรับประทานยาที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ลดเหตุปัจจัยที่คิดว่ากระตุ้นทำให้เป็นซ้ำ รับประทานอาหารตามคำแนะนำ กรณีมีปุมโทฟัส

Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย