นิ้วล็อค ภัยเงียบ ที่ป้องกันได้
ศูนย์ : ศูนย์กระดูกและข้อ
นิ้วล็อค (Trigger Finger) เป็นอาการที่พบได้บ่อย พบได้ทุกเพศทุกวัย อาการนิ้วล็อคเกิดขึ้นได้ไม่ยากและไม่ง่าย หลายคนที่เป็นมักจะรู้ก็มีอาการนิ้วล็อคแล้ว สร้างความเจ็บปวดและทรมานในระดับหนึ่งที่เดียว
รู้จักโรคนิ้วล็อค
โรคนิ้วล็อค เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้ปกติ อาจเป็นนิ้วเดียว หรือหลายนิ้ว อาการเริ่มตั้งแต่เจ็บบริเวณฐานนิ้วนั้นๆ นิ้วมีความฝืดในการเคลื่อนไหว สะดุดหรือกระเด้งเข้าออกเวลางอหรือเหยียด จนต่อมามีอาการล็อค คือ หากงอหรือกำนิ้วไว้ จะไม่ยอมเหยียดออกเอง ต้องใช้อีกมือหนึ่งมาช่วยง้างออก มีอาการปวดเวลาดึงออกหรือบางครั้งอาจจะเหยียดออก แต่เวลางอนิ้วจะงอไม่ลง หากปล่อยทิ้งไว้นิ้วมือนั้นๆ อาจเปลี่ยนรูปเป็นโก่ง งอ บวม เอียงนิ้วเกยกัน นิ้วอาจแข็งทื่อ ไม่สามารถงอลงหรือเหยียดขึ้นได้ หากปล่อยทิ้งไว้ข้อต่ออาจจะยึดและข้อเหยียดไม่ออก ขยับไม่ได้ พังผืดรอบข้อต่อของนิ้วยึดแข็งทำให้มือพิการได้ เหยียดตรงไม่ได้
สาเหตุของการเกิดนิ้วล็อค
การทำกิจกรรมซ้ำๆ เป็นเวลานาน เช่น การเล่นเกมกด การถักโคเช การจ่ายตลาดของแม่บ้านที่ต้องนิ้วถุงพลาสติกหนักๆ เป็นประจำ การทำกับข้าวถือกระทะ ตะหลิวเป็นเวลานานๆ การกำพวงมาลัยรถ การทำงานเดิมซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น การตัดผม การพิมพ์ดีด การเขียนหนังสือ ต่างล้วนส่งผลให้เกิดภาวะนิ้วล็อคได้ เพราะว่าเราคงไม่สามารถหยุดกิจกรรมต่างๆ หรือหยุดทำงานได้ การป้องกันจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด หากเริ่มมีอาการดังกล่าวที่กล่าวมาแล้ว ควรลดหรือเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดการล็อคของนิ้วมือ เช่น กำมือแน่นๆ หยิบจับสิ่งของเป็นเวลานานๆ หากมีอาการปวดตึงในมือสามารถประคบด้วยความร้อนหรือความเย็นก็ได้ แต่หากมีการอักเสบบวมให้ประคบด้วยความเย็นเพื่อบรรเทาอาการได้ และควรปรึกษากับแพทย์ นักกายภาพบำบัดเพื่อรีบรักษาอาการจะได้ไม่ลุกลามมากขึ้น
วิธีการรักษา
การรักษาโรคนิ้วล็อค ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค ในระยะแรกการพักการใช้งานของมือ ไม่ใช้งานรุนแรง การทานยาต้านการอักเสบ แช่น้ำอุ่น การทำกายภาพบำบัด การใช้ความรู้สึกชนิดลึก เช่น อัลตราซาวด์ก็มีส่วนช่วยลดการอักเสบ และการติดยึดของเส้นเอ็นกับปลอกหุ้มเอ็น แต่ในกรณีที่เป็นรุนแรงขึ้นก็ควรพบแพทย์ ซึ่งแพทย์ก็จะให้การรักษาโดยการใช้ยาต้านการอักเสบหรืออาจร่วมกับการฉีดยาสเตียรอยด์ เช่น ปลอกหุ้มเอ็น ยาจะเข้าไปลดการอักเสบ ลดอาการบวมถึงรัดของเส้นเอ็น ทำให้อาการดีขึ้นได้ในเวลา 2-3 วันหลังฉีดยา แต่ถ้าพังผืดหนาตัวมาก หรืองอนิ้วเหยียดนิ้วฝืดมาก หรือถึงกับติดหรือล็อค การฉีดยาก็ไม่อาจช่วยได้
การฉีดยาอาจดีขึ้นได้เพียงเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน และในไม่ช้าก็กลับมาเป็นอีก การฉีดยาไม่ควรฉีดเกิน 2 ครั้งเพราะอาจทำให้เอ็นเปื่อยหรือยุ่ยได้ นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้ว ในกรณีที่มีการล็อคติดรุนแรง การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะจะเปิดลงไปตัดเข็มขัดรัดเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ติดยึดขวางทางผ่านของเอ็นให้แยกออกจนผ่านได้
การผ่าตัดมีข้อดีคือ ทำให้ตัวโรคหายขาด เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ แต่ต้องเปิดแผล มีการตัดและมีการเย็บแผลที่ฝ่ามือใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการดูแลแผลและตัดไหม
สรุปว่านิ้วล็อค เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป และการปัญหาในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ถึงแม้จะมีการรักษาหลายวิธี แต่การป้องกันเป็นวิธีที่ดีที่สุด คือ การซื้ออย่างเหมาะสม ไม่จับ หยิบ กำ ถือ สิ่งของ หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่ซ้ำซากเป็นเวลานานๆ ควรรู้จักการดูแลเอาใจใส่แต่เนิ่นๆ ไม่ทิ้งให้เรื้อรังเป็นดีที่สุด
ตารางแสดงอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคนิ้วล็อค และนิ้วที่เป็นนิ้วล็อค
อาชีพ | นิ้วโป้ง | นิ้วชี้ | นิ้วกลาง | นิ้วนาง | นิ้วก้อย | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ขวา | ซ้าย | ขวา | ซ้าย | ขวา | ซ้าย | ขวา | ซ้าย | ขวา | ซ้าย | |
คนทำดอกไม้ประดิษฐ์ | ||||||||||
ช่างไม้ ช่างไฟฟ้า | ||||||||||
ช่างโทรศัพท์ | ||||||||||
นักกอล์ฟ | ||||||||||
นักจัดสวน | ||||||||||
ผู้พิพากษา ครู นักบัญชี นักบริหาร นักเขียน พนักงานออฟฟิศ | ||||||||||
คนขายหมู ขายไก่ | ||||||||||
คนขายน้ำอัดลม ส่งถังแก๊ส | ||||||||||
ช่างตัดผม ช่างตัดเสื้อ | ||||||||||
อาชีพขายซาลาเปา | ||||||||||
อาชีพทำปลาทูนึ่ง | ||||||||||
หมอนวดแผนโบราณ | ||||||||||
อาชีพทำอาหาร | ||||||||||
รับจ้างซักผ้า |
บทความทางการแพทย์ศูนย์กระดูกและข้อ