‘มะเร็งต่อมลูกหมาก’ มะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในผู้ชาย

ศูนย์ : ศูนย์ศัลยกรรม

บทความโดย :

‘มะเร็งต่อมลูกหมาก’ มะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในผู้ชาย

มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) เป็นโรคมะเร็งของผู้ชายสูงอายุ มักพบในอายุ 60 ปีขึ้นไป ในทั่วโลกพบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในผู้ชายทั้งหมด (อันดับ 1 คือมะเร็งปอด)


"มะเร็งต่อมลูกหมาก" เกิดจากสาเหตุใด

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอนของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่น่าจะเกี่ยวข้องกับ

  • อายุ - ยิ่งอายุสูงขึ้นโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากยิ่งมากขึ้น
  • เชื้อชาติ - พบในคนแอฟริกันมากกว่าคนผิวขาว จะพบได้น้อยในคนเอเชีย แต่จากสถิติรายงานมะเร็งต่อมลูกหมากพบสูงขึ้นทั่วโลกแม้แต่ในประเทศไทย
  • พันธุกรรม - มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นโรคนี้ ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นได้
  • อาหาร - อาจสัมพันธ์กับการกิน ซึ่งมะเร็งชนิดนี้พบมากในผู้ที่บริโภคเนื้อแดงมากๆ เป็นประจำและต่อเนื่องและกินผักผลไม้น้อย

อาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งชนิดนี้ไม่มีอาการแสดงเฉพาะ แต่พอมีข้อสังเกตให้เห็นเบื้องต้น เช่น

  • ถ่ายปัสสาวะลำบาก ต้องออกแรงเบ่งปัสสาวะนาน
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง แสบ และเจ็บปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ รู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่สุด
  • ปัสสาวะถี่ ในบางรายอาจมีเลือดปนออกมาด้วย

อย่างไรก็ตามข้อสังเกตเบื้องต้นนี้ มีอาการคล้ายกับโรคต่อมลูกหมากโต หรือโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อความแน่ใจ และป้องกันได้ทันท่วงที


การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก

  1. ตรวจทางทวารหนัก โดยแพทย์จะใช้นิ้วสอดเข้าไป คลำดูต่อมลูกหมากว่ามีความผิดปกติหรือไม่
  2. ตรวจอัลตร้าซาวด์ต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก
  3. ตรวจเลือดหาค่าสารมะเร็งที่เรียกว่า PSA
  4. ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจพยาธิวิทยา

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากประกอบด้วย

  • การผ่าตัด
  • การรักษาด้วยรังสี
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน
  • และการรักษาด้วยเคมีบำบัด

ทั้งนี้การเลือกขั้นตอนในการรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรค ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ

ส่วนผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำ การรักษาที่เหมาะสมจะเป็นการรักษาเฉพาะที่ได้แก่ การผ่าตัดต่อมลูกหมากหรือการใช้รังสีรักษาเฉพาะที่ต่อมลูกหมากซึ่งอาจจะเป็นการฉายรังสี หรือการฝังแร่

ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีการลุกลามมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น นอกจากการรักษาเฉพาะที่ที่ต่อมลูกหมากแล้ว อาจต้องพิจารณาการรักษาในบริเวณข้างเคียงหรือทำการรักษาทั้งระบบร่วมด้วย ซึ่งการรักษาบริเวณข้างเคียง ได้แก่ การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกราน หรือการฉายรังสีคลุมบริเวณอุ้งเชิงกราน การรักษาทั้งระบบได้แก่ การรักษาด้วยการลดฮอร์โมนเพศชาย หรือการใช้ยาเคมีบำบัด อย่างไรก็ตามหากตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำก็จะสามารถรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ดีกว่ามารู้ทีหลังเมื่อสายไปแล้ว



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย