สัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด เตรียมพร้อมได้ทันเวลา

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพสตรี

บทความโดย : พญ. สังวาลย์ เตชะพงศธร

สัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด เตรียมพร้อมได้ทันเวลา

หลายครั้งที่มีอาการจุก อึดอัด แน่นท้องขึ้นมาอยู่บ่อยๆ จนต้องเรอ หรือผายลมเพื่อระบายความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นภายในท้องจนเสียบุคลิกภาพ บางคนอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย และคนส่วนใหญ่มักเลือกทานยาบรรเทาอาการเพียงเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้หากเป็นอยู่บ่อยครั้ง หรือเป็นๆ หายๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติจากร่างกาย ที่อาจตามมาด้วยโรคระบบทางเดินอาหารแล้วก็ได้


อาการก่อนคลอด

อาการก่อนคลอดนั้น เมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หรือในอีกไม่กี่สัปดาห์ก่อนถึงเวลาคลอด จะมีอาการสำคัญ 2-3 อย่างที่คุณแม่จะต้องเฝ้าสังเกตดู ซึ่งอาการบางอย่างที่เกิดขึ้นอาจพอมีช่วงเวลาให้คุณแม่ได้เตรียมความพร้อม

  • เจ็บท้องเตือน ในช่วงใกล้คลอดมดลูกจะขยายตัวเต็มที่และเคลื่อนตัวลงต่ำ จึงรู้สึกได้ว่ามดลูกแข็งตัวบ่อยครั้งขึ้นจนสามารถคลำและรู้สึกได้ว่าเป็นก้อนแข็งๆ ที่บริเวณหน้าท้อง รวมทั้งมดลูกจะเริ่มบีบตัวทำให้ท้องแข็งเกร็ง แต่ยังไม่เป็นจังหวะที่แน่นอน การเจ็บท้องเตือนนี้มักจะเริ่มเป็นตอนตั้งครรภ์ได้ 8 เดือน เพื่อเตรียมปากมดลูกให้บางลงพร้อมที่จะเปิด
  • ทารกกลับหัว หมายถึง ศีรษะของทารกในครรภ์เข้าไปอยู่ในอุ้งเชิงกรานเตรียมพร้อมที่จะคลอด คุณแม่จะสังเกตได้ว่าความสูงของยอดมดลูกลดลง รู้สึกโล่งสบาย หายใจสะดวกขึ้นหรือที่เรียกกันว่า “ท้องลด” แต่มักจะปัสสาวะบ่อย เพราะศีรษะลูกกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ หากมีอาการนี้ในท้องแรกจะคลอดภายใน 1 เดือน ส่วนท้องหลังจะคลอดภายในไม่กี่วัน
  • มีมูกขาวข้นออกทางช่องคลอด เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกจะเริ่มเปิด มูกที่อุดอยู่ปากมดลูกจะหลุดและไหลออกมาทางช่องคลอด มูกที่ออกมาจะเป็นสีขาวมีลักษณะเหนียวข้น และมักจะหลุดออกมาในช่วงก่อนการคลอดประมาณ 1-2 สัปดาห์

> กลับสารบัญ


อาการใกล้คลอด

เมื่อถึงเวลาใกล้คลอดร่างกายจะส่งสัญญาณเตือนให้รู้ ทั้งนี้ต้องสังเกตให้ดีว่าเป็นอาการเจ็บท้องเตือนหรือเจ็บท้องจริง เพราะหลายคนก็มีอาการใกล้คลอดแตกต่างกันออกไป บางคนอาจมีน้ำเดิน แล้วตามด้วยอาการเจ็บท้องในไม่ช้าโดยคุณแม่อาจลองสังเกตได้จากสัญญาณเตือนสำคัญเหล่านี้

  • มูกเลือดออกทางช่องคลอด ปกติปากมดลูกของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีมูกเลือดป้องกันสิ่งแปลกปลอม เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกเริ่มเปิดและขยาย ทำให้เส้นเลือดที่บริเวณปากมดลูกมีการแตก จึงมีมูกเลือดไหลออกมา
  • ถุงน้ำคร่ำแตก หรือที่เรียกกันว่า น้ำเดิน แสดงถึงการที่มดลูกเริ่มบีบตัวหดเล็กลงเพื่อบีบให้ศีรษะของเด็กเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน น้ำที่ออกมาจะเป็นลักษณะใสๆ คล้ายน้ำปัสสาวะ ไม่มีกลิ่น ซึ่งอาจจะไหลพรวดออกมาหรือค่อยๆ ไหลออกมาก็ได้ อาการน้ำเดินมีโอกาสมากถึง 80% ที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการเช่นนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • เจ็บท้องคลอด จะเป็นอาการเจ็บท้องรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในลักษณะที่เจ็บสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง นานขึ้นและถี่ขึ้นจนกว่ากระบวนการคลอดจะสิ้นสุดลง โดยอาการเจ็บท้องคลอดนี้จะรู้สึกว่าเริ่มเจ็บที่ส่วนบนของมดลูกก่อน แล้วเจ็บร้าวลงไปข้างล่าง ท้องแข็งตึง ถ้าเดินหรือเคลื่อนไหวก็จะเจ็บมากขึ้น ส่วนใหญ่มักจะมีมูกปนเลือดออกมาทางช่องคลอดมากขึ้น

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

วิธีสังเกตอาการ “เจ็บท้องเตือน” และ “เจ็บท้องคลอด”

เจ็บท้องเตือน เจ็บท้องคลอด
เกิดไม่สม่ำเสมอ เป็นๆ หายๆ สม่ำเสมอ เช่น ปวดทุก 10 นาที
เจ็บห่างๆ เช่น ชั่วโมงละครั้ง เจ็บถี่ขึ้น จากปวดทุก 10 นาที เป็น 5 นาที
ความรุนแรงในการปวดไม่มาก ปวดแรงขึ้นเรื่อยๆ
ปวดท้องน้อย ปวดส่วนบนของมดลูก หรือยอดมดลูกและแผ่นหลัง
ให้ยาแก้ปวด อาการปวดหาย มดลูกหยุดบีบตัว อาการปวดลดลง แต่มดลูกยังคงบีบตัว
ปากมดลูกไม่เปิดขยาย ปากมดลูกเปิดขยาย

นอกจากอาการเจ็บท้องเตือน หรือเจ็บท้องคลอดแล้ว หากมีอาการและสัญญาณเตือนอื่นๆ เพิ่มเติมในช่วงไตรมาสสุดท้าย ได้แก่ มีเลือดออกทางช่องคลอด ลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อย มีไข้หรือหนาวสั่น น้ำคร่ำเป็นสีน้ำตาล เขียว เหลือง หรือสีอื่นๆ นอกเหนือจากสีใสหรือสีชมพู รวมทั้งอาเจียนไม่หยุด ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที

> กลับสารบัญ



ทั้งนี้ โดยทั่วไปการเจ็บท้องคลอดจริงใช้เวลา 8-12 ชั่วโมง กว่าปากมดลูกจะเปิดขยาย คุณแม่ควรทำใจให้สบายเพื่อที่จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นและรับมือกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น


ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย