โรคปอดบวมและไอพีดี ภัยร้ายจากเชื้อนิวโมคอคคัส
ศูนย์ : ศูนย์อายุรกรรม

เชื้อนิวโมคอคคัส เป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีมากมายหลายสายพันธุ์ พบได้ทั่วไปในโพรงจมูกและลำคอของมนุษย์ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เชื้อนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน โดยผ่านระบบทางเดินหายใจ เช่น การไอ จาม และสัมผัสละอองเสมหะของผู้ป่วยหรือพาหะ ทำให้เกิดโรคได้ในทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุและเด็กเล็กที่มีภูมิคุ้มกันไม่สมบูรณ์
นอกจากนี้ในปัจจุบันพบว่าเชื้อนิวโมคอคคัสมีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายๆ ชนิด ส่งผลให้การรักษาเป็นไปได้ยากและซับซ้อนมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลารักษาตัวนานขึ้น ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง และยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำซ้อนจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ใครที่มีปัจจัย ‘เสี่ยงสูง’ ต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัส?
- ผู้สูงอายุและเด็กเล็ก เนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สมบูรณ์เท่ากับคนในวัยหนุ่มสาว
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง อาทิ โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคตับ โรคไต และโรคเบาหวาน เป็นต้น
- ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ อาทิ ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ที่ติดเชื้อโรคมะเร็ง ผู้ที่ต้องฟอกไตเป็นประจำ ผู้ป่วยที่ไม่มีม้าม รวมถึงผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น
- ผู้สูบบุหรี่
วิธีการป้องกันให้ห่างไกลจากเชื้อนิวโมคอคคัส
- รักษาสุขอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆ ปิดปากปิดจมูกทุกครั้งที่จามหรือไอ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัส คลุกคลีกับผู้ป่วย และการเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนแออัด
- ปรึกษาแพทย์เรื่องการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน
แม้การติดเชื้อนิวโมคอคคัส จะสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ในปัจจุบันพบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลายนั้นส่งผลให้เชื้อนิวโมคอคคัสมีการดื้อยาเพิ่มมากขึ้น ทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากและซับซ้อนขึ้น ดังนั้นการป้องกันก่อนการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ
เอกสารอ้างอิง
1. Rubin JL, McGarry LJ, Klugman KP, et al. Public health and economic impact of vaccination with 7-valent pneumococcal vaccine (PCV7) in the context of the annual influenza epidemic and a severe influenza pandemic. BMC Infectious Disease 2010,10:14.