ต้องกินยาเยอะ ปัญหาของผู้สูงอายุ

ศูนย์ : ศูนย์อายุรกรรม, คลินิกผู้สูงอายุ

บทความโดย :

ผู้สูงอายุมักมีปัญหาสุขภาพหลายด้าน มีโรคภัยไข้เจ็บเริ่มมาเยือน ทั้งไขมัน ความดัน เบาหวาน และอีกสารพัดโรค เมื่อเป็นแล้วก็ต้องรักษา ยาจึงเปรียบเสมือนเพื่อนคู่กายของผู้สูงอายุ ปัญหาในการกินยารักษาหลายโรค กินครั้งละจำนวนมากๆ รวมทั้งปัญหาจากความชรา อาจส่งผลให้หยิบยาผิด กินยาไม่ครบ กินยาไม่ตรงเวลา กินยาเกินขนาด จนทำให้เกิดผลข้างเคียงหรืออันตรายจากยาได้ แทนที่จะรักษา กลับทำให้อาการแย่ลง ดังนั้นเรื่องผู้สูงอายุกินยา จึงกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ควรมองข้าม และต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก


เมื่อมียาเยอะ ปัญหาก็มีแยะ

“ยาเยอะ” เป็นเรื่องปกติที่เจอในผู้สูงอายุทั่วไป ผู้สูงอายุหลายท่านมีโรคหลายโรค เจอหมอ 10 ท่าน ยาอาจจะมากกว่า 5-6 รายการ พอมียาที่ต้องกินมาก สีของยา ขนาดของเม็ดยาเวลาที่กินก็อาจจะมีลักษณะของยาใกล้เคียงกัน ผู้สูงอายุอาจจะสายตาไม่ดี ความจำเริ่มไม่ดี เริ่มมีการแยกเม็ดยายาก หรือยาบางตัว ตัวใหม่มา ตัวเก่าเหลือ หรือมีการเปลี่ยนยี่ห้อยา เปลี่ยนขนาดยา ผู้ป่วยก็จะเริ่มสับสน จะพบผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงจากยาสูง เนื่องจากว่ามีการกินยาผิด ซึ่งจะพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ


ให้ผู้สูงวัยกินยาเองหรือควรจัดยาให้

จริงๆ ต้องประเมินผู้สูงอายุก่อนว่าเขามีความสารมารถในการดูแลตัวเองแค่ไหน มีความสามารถในการจัดยาได้ถูกไหม ให้ลองสังเกตง่ายๆ คือ หมอให้ยาเท่าไหร่ แล้วยาเหลือไหม เดือนต่อเดือน เขาลืมกินยาบ้างหรือเปล่า หรือมีการทบทวนการให้เขาจัดเองก็ดี แต่เราต้องดูด้วยว่าที่เขากินนั้นถูกต้องหรือเปล่า


ยาความดันหยุดยาเองได้ไหม

หากเป็นโรคความดันโลหิตปกติ สามารถลดยาความดันได้ แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ปัจจุบันปพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยมีเครื่องวัดความดันที่บ้าน เพราะเครื่องมือในปัจจุบันค่อนข้างเสถียรและเชื่อถือได้ ถ้าพบว่าความดันปกติ หรือต่ำไป ถามว่าลดได้ไหม ลดได้ หมอแนะนำให้ลดด้วย แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจจะนัดมาพบถี่มากขึ้นเพื่อจะปรับลดยาความดัน


ถ้าลืมกินยารวบมื้อกินได้ไหม

ส่วนตัวหมอมองว่าต้องดูเป็นตัวยาแต่ละตัว ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลประจำ ที่สำคัญถ้าหากเขาลืม ต้องดูว่าลืมบ่อยไหม และอะไรซ่อนอยู่หลังการลืมนั้น ควรต้องหาต่อไปด้วยว่าทำไมคนไข้ถึงลืมกินยา เขาไม่อยากกินหรือเขาลืม หรือเข้าใจผิด ส่วนเรื่องรวบมื้อกินก็ขึ้นอยู่กับชนิดยา ต้องปรึกษาแพทย์


เทคนิคกันลืมเรื่องการกินยา

ควรปรับตามแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับสาเหตุ คนที่สายตาไม่ดี อาจจะเขียนฉลากยาให้ตัวใหญ่ขึ้น ไม่ควรใช้ยาสลับซองกัน เช่น เมื่อหมอจ่ายยามาใส่ซองยาอันไหนก็ให้ใส่อันเดิม การสลับซองยาก็ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการกินยาผิดได้ การตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อช่วยเตือนในการกินยาแต่ละเวลา การจัดยาใส่กล่องตามช่อง เพื่อให้กินยาตามเวลาที่กำหนด ก็จะช่วยกระตุ้นความจำของผู้สูงอายุได้ ซึ่งก็ต้องดูตามบุคลิก ตามเหตุผลว่าคนไข้แต่ละคนเหมาะสมแบบไหน ใช้วิธีแบบไหนแล้วได้ผล และก็มีการปรับเปลี่ยนได้เรื่อยๆ



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย