เช็คกันหน่อย วัคซีนเด็กที่ควรฉีดตามช่วงอายุ มีอะไรบ้างนะ

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพเด็ก

บทความโดย : นพ. ศราวุธ ตั้งมานะกุล

เช็คกันหน่อย วัคซีนเด็กที่ควรฉีดตามช่วงอายุ มีอะไรบ้างนะ

การฉีดวัคซีนจะช่วยกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรค เมื่อเด็กๆ ได้รับวัคซีนแล้วจะทำให้โอกาสป่วยเป็นโรคติดต่อต่างๆ ลดลงอย่างมาก เด็กจำเป็นต้องได้รับวัคซีนทุกคนตั้งแต่แรกเกิด ฉะนั้นไม่ควรละเลยเรื่องการฉีดวัคซีน โดยวัคซีนที่ต้องฉีดนั้นจะมีทั้งวัคซีนพื้นฐานและวัคซีนเสริม ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่มาเช็คดูกันว่าลูกน้อยของคุณฉีดวัคซีนกันหรือยัง ถ้ายังสามารถเข้ารับคำปรึกษากับกุมารแพทย์ได้ว่าจะต้องฉีดกี่เข็ม ฉีดห่างกันกี่เดือน พร้อมรับวัคซีนตามเกณฑ์อายุที่กำหนดกันได้เลย


อายุ ชนิดวัคซีน
เด็กแรกเกิด
  • วัคซีนโรคตับอักเสบบี (HB1) ควรฉีดให้เร็วที่สุด ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
  • วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) ฉีดให้เด็กก่อนออกจากโรงพยาบาล
1 เดือน
  • วัคซีนโรคตับอักเสบบี (HB2) โดยเฉพาะรายที่มารดาเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี
2 เดือน
  • วัคซีนรวมป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTP-HB-Hib1) ครั้งที่ 1
  • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน (OPV1) ครั้งที่ 1
  • วัคซีนเสริมโรต้า ป้องกันอุจจาระร่วง (Rota1) ครั้งที่ 1
  • วัคซีนเสริมป้องกันโรคปอดบวม IPD ครั้งที่ 1

หมายเหตุ : ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งที่ 1 ในเด็กอายุมากกว่า 15 สัปดาห์
4 เดือน
  • วัคซีนรวมป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTP-HB-Hib2) ครั้งที่ 2
  • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน (OPV2) ครั้งที่ 2
  • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV)
  • วัคซีนเสริมโรต้า ป้องกันอุจจาระร่วง (Rota2) ครั้งที่ 2
  • วัคซีนเสริมป้องกันโรคปอดบวม IPD ครั้งที่ 2

หมายเหตุ :
  • ให้วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด 1 เข็ม พร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน 1 ครั้ง
  • ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งสุดท้าย ในอายุมากกว่า 32 สัปดาห์
6 เดือน
  • วัคซีนรวมป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTP-HB-Hib3) ครั้งที่ 3
  • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน (OPV3) ครั้งที่ 3
  • วัคซีนเสริมโรต้า ป้องกันอุจจาระร่วง (Rota3) ครั้งที่ 3
  • วัคซีนเสริมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ครั้งที่ 1
  • วัคซีนเสริมป้องกันโรคปอดบวม IPD ครั้งที่ 3

หมายเหตุ :
  • ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งสุดท้าย ในอายุมากกว่า 32 สัปดาห์
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ถ้าอายุน้อยกว่า 9 ปี ฉีดครั้งแรกต้องฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน หลังจากนั้นฉีดปีละครั้ง
9 เดือน
  • วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR1) ครั้งที่ 1

หมายเหตุ : หากไม่ได้ฉีดเมื่ออายุ 9 เดือน ให้รีบตามฉีดโดยเร็วที่สุด
12-15 เดือน
  • วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี (JE1) ครั้งที่ 1
  • วัคซีนเสริมป้องกันโรคปอดบวม IPD กระตุ้นครั้งสุดท้าย
  • วัคซีนเสริมป้องกันโรคอีสุกอีใส (VZV1) ครั้งที่ 1
  • วัคซีนตับอักเสบเอ (HAV1) ครั้งที่ 1
1 ปีครึ่ง
  • วัคซีนรวมป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP4) ครั้งที่ 4
  • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน (OPV4) ครั้งที่ 4
1 ปีครึ่ง - 2 ปี
  • วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี (JE2) ครั้งที่ 2
  • วัคซีนตับอักเสบเอ (HAV2) ครั้งที่ 2
2 ปีครึ่ง
  • วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR2) ครั้งที่ 2
  • วัคซีนเสริมป้องกันโรคอีสุกอีใส (VZV2) ครั้งที่ 2
อายุ 4-6 ปี
  • วัคซีนรวมป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP5) ครั้งที่ 5
  • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน (OPV5) ครั้งที่ 5
11 ปี (ป.5)
  • วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี (HPV) จำนวน 2 เข็ม
หมายเหตุ : ระยะห่างระหว่างเข็ม ห่างกันอย่างน้อย 6-12 เดือน
12 ปี (ป.6)
  • วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก (Td)

สำหรับวัคซีนเสริมอื่นๆ ได้แก่

อายุ ชนิดวัคซีน
6 เดือน - 5 ปี
  • วัคซีนมือเท้าปาก จากเชื้อไวรัสเอนเทอโรไวรัส 71 (อีวี 71) จำนวนฉีด 2 เข็ม โดยฉีดระยะห่างกัน 1 เดือน
อายุ 9 ปีขึ้นไป
  • วัคซีนไข้เลือดออก (DEN) จำนวน 2 หรือ 3 เข็ม ขึ้นอยู่กับชนิดวัคซีน โดยฉีดระยะห่างกัน 6 เดือน
ทุกช่วงอายุ
  • วัคซีนพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสโรค ฉีดจำนวน 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 7 วัน (วันที่ 0,7)

วัคซีนดังกล่าวข้างต้นนี้จะทำหน้าที่ป้องกันและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ให้กับลูกน้อยของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพาลูกน้อยของคุณไปรับวัคซีนตามกำหนดเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

นพ.ศราวุธ ตั้งมานะกุล นพ.ศราวุธ ตั้งมานะกุล

นพ.ศราวุธ ตั้งมานะกุล
กุมารเวชศาสตร์ / กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ศูนย์สุขภาพเด็ก






ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย