ไมโคพลาสมา โรคติดเชื้อแบคทีเรียในเด็ก ทำปอดอักเสบติดเชื้อ

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพเด็ก

บทความโดย : พญ. ธิดารัตน์ แก้วเงิน

ไมโคพลาสมา โรคติดเชื้อแบคทีเรียในเด็ก ทำปอดอักเสบติดเชื้อ

โรคติดเชื้อ Mycoplasma pneumonia ก่อให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบน และส่วนล่าง สามารถพบได้ทุกวัย เมื่อติดเชื้อจะก่อให้เกิดอาการคล้ายหวัด และจะมีอาการไอรุนแรง ทำให้เกิดหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ หรือปอดบวม บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองอักเสบ ข้ออักเสบ อาการทางผิวหนัง และเยื่อบุอักเสบได้


ทำความรู้จัก ไมโคพลาสมา

Mycoplasma pneumonia เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ มีขนาดเล็กมาก พบได้ทั่วโลก แพร่ระบาดได้ตลอดทั้งปี มักทำให้เกิดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ติดต่อโดยหายใจสูดเอาละอองฝอยที่มีเชื้อผ่านการไอ จาม เป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน ระยะฟักของเชื้อประมาณ 2-3 สัปดาห์ อาการมักหายได้เองเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีรายที่สามารถก่อโรครุนแรงต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการในระบบที่นอกเหนือจากระบบทางเดินหายใจ เช่น ระบบประสาท ระบบเลือด ผิวหนัง ไต ข้อ ระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

> กลับสารบัญ


อาการโรคติดเชื้อไมโคพลาสมา

เมื่อได้รับเชื้อจะทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบน และส่วนล่าง ได้แก่

  1. ไอมาก จาม มีน้ำมูก
  2. มีไข้สูง 38 องศา ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  3. เจ็บคอ คออักเสบ
  4. เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ หายใจเร็ว หายใจมีหน้าอกบุ๋ม
  5. ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีอาการอ่อนเพลีย
  6. ภาวะหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบติดเชื้อ
  7. บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ซีดรุนแรง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภาวะสมองอักเสบ ทำให้เกิดไข้สูง ชัก หรือหมดสติ ได้

> กลับสารบัญ


การวินิจฉัยโรคติดเชื้อไมโคพลาสมา

แพทย์จะวินิจฉัยจากการซักประวัติอาการ ตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ปัจจุบันนิยมตรวจทางภูมิคุ้มกันวินทยา โดยวิธี FIA หรือ IFA จากเลือด ซึ่งสะดวกและรวดเร็ว ส่วนการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อโดยวิธี PCR จะมีความไวสูงและจำเพราะสูง จากสิ่งส่งตรวจจากจมูกหรือคอยังมีข้อจำกัดในการตรวจใช้ในสถานพยาบาล รวมไปถึงการตรวจเอกซเรย์ปอด ตรวจเลือดเพื่อประเมินความรุนแรง

> กลับสารบัญ


การรักษาโรคติดเชื้อไมโคพลาสมา

แพทย์จะรักษาด้วยการให้ยารับประทานตามอาการเพื่อประคับประคองอาการที่เกิดขึ้น รวมทั้งยาปฏิชีวนะที่สามารถครอบคลุมเชื้อ ได้แก่ ยากลุ่ม macrolides เช่น azithromycin, erythromycin, clarithromycin หรือกลุ่ม Doxycycline หรือ Levofloxacin ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ และรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรค

> กลับสารบัญ


โรคติดเชื้อไมโคพลาสมายังไม่มีวัคซีนป้องกัน การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงสถานที่แอดอัด คนจำนวนมาก สถานที่ที่มีการระบายอากาศไม่ดี หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย ใส่หน้ากากอนามัย ควรล้างมือให้บ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนการปรุงอาหาร หรือรับประทานอาหาร ทั้งนี้หากลูกน้อยมีอาการไม่สบาย หรือมีอาการดังกล่าวข้างต้น เช่น มีไข้เกิน 38 องศา ไอมาก หายใจเร็ว หายใจมีหน้าอกบุ๋ม ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย