การตรวจวิเคราะห์ทางพันธุกรรมเข้าถึงระดับยีน ออกแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพนครธน

บทความโดย :

การตรวจวิเคราะห์ทางพันธุกรรมเข้าถึงระดับยีน ออกแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

การทราบถึงโอกาสการเกิดโรคต่างๆ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ดูแลและป้องกันโรคได้อย่างถูกวิธี แต่ยังสามารถตรวจเช็คสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจวิเคราะห์ทางพันธุกรรม หรือ การตรวจยีน ค้นหาความผิดปกติในระดับโครโมโซม ไปจนถึงความผิดปกติในระดับยีน จะช่วยคัดกรองโรค และประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคที่อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมในอนาคต รวมไปถึงการลดความเสี่ยงในการแพ้ยา เพื่อเป็นแนวทางการวางแผนป้องกันหรือรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งให้ผลลัพธ์การตรวจที่แม่นยำ ตรวจเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องตรวจซ้ำไปตลอดชีวิต


การตรวจวิเคราะห์ทางพันธุกรรม เป็นอย่างไร

การตรวจวิเคราะห์ทางพันธุกรรม หรือ การตรวจยีน เป็นการตรวจสุขภาพเชิงลึก วินิจฉัยโรค คัดกรอง พร้อมให้คำปรึกษา และประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคที่อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม การตรวจเภสัชพันธุศาสตร์เพื่อการเลือกยา ปรับขนาดยา และป้องกันการแพ้ยา รวมถึงการตรวจโภชนพันธุศาสตร์ เพื่อจัดการด้านโภชนาการ และวางแผนการออกกำลังกายให้เหมาะสมเฉพาะบุคคล นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และบุคคลทั่วไปที่ห่วงใยในสุขภาพของตนเอง และครอบครัว


วัตถุประสงค์ของการตรวจยีน

การออกแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อความยืนยาวของชีวิต โดยมุ่งเน้นไปที่การดูแลสุขภาพที่เจาะลึก ที่เน้นการป้องกันก่อนเกิดโรค ดังนั้น นอกจากการตรวจยีนเพื่อวินิจฉัย และประเมินความเสี่ยง การตรวจยีนยังสามารถตรวจเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

  • คาดคะเนสุขภาพในอนาคต ทำให้วางแผน และป้องกันการเกิดโรคร้ายบางชนิดได้อย่างถูกต้อง เช่น โรคมะเร็งต่างๆ อาทิ มะเร็งเต้านม มะเร็งไทรอยด์ มะเร็งรังไข่ โพรงมดลูก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งไต มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น รวมถึง โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ลดความเสี่ยงในการแพ้ยา และทำนายการตอบสนองของยา ช่วยให้เลือกใช้ยา และขนาดยาได้อย่างเหมาะสม
  • ช่วยวางแผนการมีบุตร โดยตรวจโรคทางกรรมพันธุ์บางชนิดที่อาจถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก

ประโยชน์ของการตรวจความเสี่ยงในการเกิดโรคจากยีน

ประโยชน์ใหญ่ๆ 2 ด้านของการตรวจยีน คือ

  • ทำให้วางแผนเพื่อป้องกันโรคได้อย่างถูกต้องทั้งคนไข้และครอบครัว
  • ทำให้สามารถรักษาโรคได้ตรงกับความผิดปกติมากที่สุด

ใครบ้างที่ควรตรวจยีน

  • ผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
  • ผู้ที่ต้องการวางแผนครอบครัวก่อนมีบุตร
  • ผู้ที่รักสุขภาพในทุกกลุ่มวัย

ขั้นตอนการตรวจยีนมีอะไรบ้าง

การตรวจวิเคราะห์ทางพันธุกรรม มีขั้นตอนดังนี้

  1. เก็บตัวอย่าง : เจาะเลือดหรือเก็บน้ำลายที่โรงพยาบาลหรือที่บ้านด้วยบริการ telemedicine และ @home service
    วิธีการเก็บตัวอย่าง ได้แก่
    • เก็บตัวอย่างน้ำลาย
    • เก็บตัวอย่างจากกระพุ้งแก้ม
  2. ส่งตรวจ : ส่งตรวจยีนในห้องปฏิบัติการ
  3. วิเคราะห์ผลการตรวจ : แปลผลการตรวจยีนโดยนักพันธุศาสตร์ผู้ชำนาญการ
  4. พบแพทย์ผู้ชำนาญการ : ฟังผลการตรวจยีนพร้อมรับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์

หลังจากทราบผลการตรวจแล้ว ต้องทำอย่างไรต่อไป

การตรวจยีนจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ จึงทราบผลการตรวจ หากผลการตรวจออกมาเป็นผลกำกวมหรือเป็นผลบวก แพทย์หรือแพทย์เฉพาะทางด้านพันธุศาสตร์จะอธิบายความหมายของผลการตรวจและให้คำแนะนำว่าควรทำอย่างไรและอาจส่งต่อแพทย์เฉพาะทางเพื่อดูแลเฉพาะโรคต่อไป

การตรวจวิเคราะห์ทางพันธุกรรม ไม่เพียงช่วยประเมินความเสี่ยงสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต แต่ยังเป็นการวางแผนการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมเพื่อการมีอายุที่ยืนยาว



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย




Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย