ปวดท้องน้อยในผู้หญิง สัญญาณเตือนของโรคทางนรีเวช

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพสตรี

บทความโดย : พญ. จุฑาภรณ์ อุทัยแสน

ปวดท้องน้อยในผู้หญิง สัญญาณเตือนของโรคทางนรีเวช

ปวดท้องน้อย เป็นอาการที่ผู้หญิงหลายคนมักจะมองข้ามอยู่บ่อยครั้ง เพราะคิดว่าเป็นอาการปวดท้องทั่วๆ ไป คล้ายกับการปวดประจำเดือนที่ไม่นานก็หาย แต่หากปวดเฉียบพลัน ปวดท้องประจำเดือนมาก และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ปวดบ่อยแบบไม่ทราบสาเหตุ จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำอื่นได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคทางนรีเวชได้


อาการปวดท้องน้อยเป็นอย่างไร?

อาการปวดท้องน้อย (pelvic pain) ในผู้หญิง เป็นอาการปวดตั้งแต่บริเวณใต้สะดือลงไปจนถึงหัวหน่าว มีทั้งการปวดแบบเฉียบพลัน และการปวดแบบเรื้อรัง อาจจะสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับประจำเดือนได้ แต่อาการปวดท้องอย่างไรที่ควรพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาโรคเพิ่มเติม

  • ปวดเฉียบพลัน ทันที และมีอาการรุนแรง
  • อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังจากทานยาแก้ปวด
  • อาการปวดที่เป็นนานเรื้อรัง รบกวนชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเป็นมานานกว่า 6 เดือน
  • อาการปวดที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะแสบขัด มีประวัติมีบุตรยาก
  • ปวดท้องประจำเดือนมาก และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งสาเหตุของอาการปวดนั้นมีได้ทั้งจากโรคเกี่ยวกับลำไส้ ทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ กล้ามเนื้อ หรืออาจเป็นมาจากโรคทางนรีเวช เช่น เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ ถุงน้ำ (cyst) รังไข่


โรคทางนรีเวชที่พบบ่อยและเกี่ยวข้องกับอาการปวดท้องน้อย

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการปวดท้องประจำเดือน โดยเฉพาะในคนที่มีประวัติมีบุตรยาก ปวดเรื้องรังนานกว่า 6 เดือน ปวดหน่วงขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือ มีคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ระหว่างมีประจำเดือน กลุ่มโรคเยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ยังรวมถึงโรค chocolate cyst อีกด้วย


เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)

อาการปวดมักเกิดจากการที่ก้อนเนื้องอกใหญ่จนมีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง การบิดขั้วของเนื้องอกจะทำให้เกิดการปวดที่รุนแรง ปวดท้องประจำเดือน หรือ มีเนื้อตายภายในเนื้องอก


เนื้องอก หรือ ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian tumor)

อาจเกิดการบิดขั้ว แตก รั่ว ของถุงน้ำ จะทำให้เกิดอาการปวดท้องแบเฉียบพลัน อาจมีเลือดออกในช่องท้อง หรือ ติดเชื้อได้ หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่มากจะทำให้เกิดอาการแน่นท้อง จุก เสียด ทานอาหารอิ่มง่ายได้


การตรวจและการวินิจฉัย

  1. การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
  2. การตรวจภายใน
  3. การตรวจด้วยอัลตราซาวด์
  4. การส่องกล้องเพื่อดูพยาธิสภาพบริเวณอุ้งเชิงกราน

การรักษา

  1. การให้ยาแก้ปวด
  2. การรักษาด้วยฮอร์โมน
  3. การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง หรือ การผ่าตัดส่องกล้อง

ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง

ผ่าตัดส่องกล้อง

ข้อดี ใช้ในกรณีเนื้องอกขนาดใหญ่มาก หรือมีการลุกลามอวัยวะข้างเคียง
  • ใช้ได้ดีในโรคเยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ เพราสามารถเห็นรอยโรคชัดเจน
  • แผลเล็ก
  • ฟื้นตัวเร็วระยะการนอนโรงพยาบาลและการพักฟื้นที่บ้านสั้น
  • เสียเลือดน้อย
  • ปวดหลังผ่าตัดน้อย
ข้อเสีย
  • เสียเลือดมากกว่า
  • เกิดพังผืดหลังการผ่าตัดมากกว่า
  • ไม่ใช้ในบางกรณี เช่น มีการติดเชื้อกระจายในช่องท้อง
  • ไม่สามารถทำได้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีภาวะช็อค

อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการปวดท้องน้อยขึ้นมา ทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง ถ้ารักษาเบื้องต้นด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด และการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการช่วยคัดกรองโรคทางนรีเวชเหล่านี้ หากตรวจพบได้เร็ว รักษาได้ไว ก็จะช่วยให้คุณกลับมามีสุขภาพที่ดีเหมือนเดิม






ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย




Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย