ปัญหาเหงือกอักเสบ ไม่ดูแล อาจนำไปสู่โรคปริทันต์อักเสบรุนแรง

ศูนย์ : ศูนย์ทันตกรรม

บทความโดย : ทพ. วุฒิพงษ์ เหล่าอมต

ปัญหาเหงือกอักเสบ ไม่ดูแล อาจนำไปสู่โรคปริทันต์อักเสบรุนแรง

โรคเหงือกอักเสบ ถือว่าเป็นโรคในช่องปากที่พบได้บ่อยและเริ่มต้นด้วยอาการไม่รุนแรง จะมีอาการเหงือกบวม แดง รู้สึกเจ็บระคายเคือง ซึ่งควรได้รับการดูแลรักษาโดยเร็ว เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจจะทำเป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรงหรือสูญเสียฟันแท้ได้ในที่สุด


โรคเหงือกอักเสบ หรือ โรคปริทันต์ คืออะไร

โรคเหงือกอักเสบ คือ เหงือกมีลักษณะบวมแดง สาเหตุจากการแปรงทำความสะอาดฟันได้ไม่ดี ทำให้มีเศษอาหารตกค้างตามซอกฟันและร่องเหงือก สะสมเป็นแบคทีเรีย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณขอบเหงือกและหากคราบแบคทีเรียนี้ยังไม่ถูกกำจัด ก็จะสะสมจนกลายเป็นหินปูนหนา ลึกลงไปใต้เหงือก หากยังปล่อยไปไว้โดยไม่รักษา จากเหงือกอักเสบเล็กน้อยก็จะกลายเป็นโรคปริทันต์ เพราะเชื้อโรคจากคราบหินปูนเข้าทำลายกระดูก และเนื้อเยื่อโดยรอบที่พยุงโอบรัดฟันเอาไว้เสียหาย ทำให้เหงือกและฟันเสียหายจนเหงือกไม่สามารถพยุงฟันได้ ทำให้ฟันหลุดไป หรือต้องถอนฟัน

> กลับสารบัญ


ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหงือกอักเสบ

  • สูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า หรือการเคี้ยวใบยาสูบ
  • โรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน ข้ออักเสบ
  • ฟันเก ฟันซ้อน ไม่เป็นระเบียบ เป็นสาเหตุให้ทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง
  • การเสื่อมสภาพ หรือชำรุด ของวัสดุอุดฟัน
  • ช่วงฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น วัยรุ่น วัยทอง หรือ ตั้งครรภ์
  • รับประทานยาบางชนิดเป็นเวลานาน ๆ เช่น ยาลดความดันโลหิต ยากันชัก

> กลับสารบัญ


อาการของโรคเหงือกอักเสบ จนกลายเป็น โรคปริทันต์

  • เหงือกมีสีแดงหรือคล้ำมากขึ้น บวม นุ่ม
  • มีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟัน
  • มีภาวะเหงือกร่นทำให้ฟันดูยาวขึ้น
  • มีกลิ่นปากเรื้อรัง
  • อาจมีหนองออกตามร่องเหงือก
  • รู้สึกฟันกับไม่ติดกับเหงือก หรือขยับเวลาเคี้ยว ฟันโยก

> กลับสารบัญ

ระดับความรุนแรงของโรคปริทันต์ แบ่งได้ดังนี้

  • ระดับ 1 โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) คือ เหงือกที่มีอาการอักเสบเล็กน้อยมีลักษณะบวม แดงมีเลือดซึมออกมาขณะแปรงฟัน
  • ระดับ 2 โรคปริทันต์อักเสบ (Periodontitis) เริ่มมีภาวะเหงือกร่นแยกตัวออกจากฟันเป็นเหตุให้ครายแบคทีเรียสามารถเข้าไปยังรากฟันเนื้อเยื่อปริทันต์และกระดูกเบ้าฟันได้
  • ระดับ 3 โรคปริทันต์อักเสบขั้นรุนแรง (Advanced Periodontitis) เป็นภาวะกระดูกและเนื้อเยื่อรอบๆ ที่ช่วยพยุงฟันถูกทำลาย มีอาการฟันโยกและอาจสูญเสียฟันในที่สุด

> กลับสารบัญ

การดูแลรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์

  • แปรงฟันอย่างถูกวิธี และใช้ไหมขัดฟัน เป็นประจำทุกวัน สามารถรักษาอาการเหงือกอักเสบระยะเริ่มต้นได้
  • การทำความสะอาดช่องปากโดยทันตแพทย์ โดยเข้ารับการขูดหินปูนตามที่ทันตแพทย์นัดหมาย
  • การกำจัดคราบจุลินทรีย์ และหินปูนที่เกาะบนผิวรากฟันให้สะอาด หรือที่เรียกว่า การเกลารากฟัน (root planning) เพื่อให้เหงือกกลับมามีสุขภาพที่ดี

> กลับสารบัญ

จะป้องกันการเกิดโรคปริทันต์ได้อย่างไร

  1. การดูแลสุขภาพช่องปาก ได้แก่
    • แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์และมีสารออกฤทธิ์ลดการสะสมของแบคทีเรีย
    • ทำความสะอาดซอกฟัน และร่องเหงือก ด้วยการใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน
  2. เข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือ ตามใบนัด อย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการเคี้ยวใบยาสูบ
  3. การบริโภคอาหารให้เหมาะสมและมีประโยชน์

> กลับสารบัญ

การดูแลช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี จะช่วงป้องกันการเกิดปัญหาเหงือกอักเสบได้ ทั้งนี้หากมีปัญหาเหงือกอักเสบ บวม แดง อย่าปล่อยทิ้งไว้ ให้เข้ามาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและรับการรักษาอย่างทันท่วงที หากมีข้อสงสัยสามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้เลย




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย