ส่องกล้องทางเดินอาหาร ตรวจง่าย วินิจฉัยโรคชัดเจน
ศูนย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
บทความโดย : นพ. สมบุญ รุ่งจิรธนานนท์
คุณ "มีอาการเหล่านี้" หรือไม่?
ท้องเสียสลับท้องผูก
ถ่ายเป็นเลือด
ปวดท้องเรื้อรัง
สัญญาณเตือนความผิดปกติของโรคทางเดินอาหารไม่ว่าจะเป็นอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน ท้องผูก หรือ ท้องเสียเรื้อรัง จุกแน่นลิ้นปี่ ท้องอืด ท้องเฟ้อ กลืนลำบาก น้ำหนักลด ตัวเหลือง ตาเหลือง เป็นสัญญาณสุขภาพอันตรายที่ไม่ควรละเลยมองข้าม และควรเร่งได้รับการตรวจวินิจฉัยเพื่อการรักษาอย่างถูกทาง โดยปัจจุบันมีเทคโนโลยีการส่องกล้องทางเดินอาหารเข้ามาช่วยตรวจและวินิจฉัยโรคได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อนเรื้อรัง ติ่งเนื้อในกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ นิ่วในทางเดินน้ำดี ท่อน้ำดีอุดตัน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้พบโรค สาเหตุของความผิดปกติดังกล่าว และส่งผลให้การรักษาโรคได้ทันเวลา
สารบัญ
เมื่อไหร่ควรพบแพทย์เพื่อส่องกล้อง?
การส่องกล้องทางเดินอาหาร นับเป็นเทคนิคหนึ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากในรักษาและการตรวจวินิจฉัย ซึ่งจะช่วยให้พบโรค สาเหตุของความผิดปกติดังกล่าว และส่งผลให้การรักษาโรคได้ทันเวลา ผู้ป่วยที่ควรทำการตรวจด้วยการส่องกล้องคือ ผู้ป่วยที่ปวดท้องเรื้อรัง รักษาด้วยการทานยาแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อาเจียนเรื้อรัง นอกจากนี้ การส่องกล้องตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหาร ยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ผู้ที่มีพฤติกรรมรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาทำให้ปวดท้องเป็นๆหายๆ รับประทานได้น้อย ซีด อ่อนเพลีย ผู้มีความเสี่ยงบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งทางเดินอาหาร ขับถ่ายผิดปกติ และผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นต้น ทั้งนี้การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ยังเป็นหนึ่งในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุการตายอันดับสามของมะเร็งในประเทศไทย ซึ่งมักวินิจฉัยได้เมื่อมีอาการลุกลามแล้ว
ทำความรู้จักการส่องกล้อง 3 แบบ
เทคโนโลยีการส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหาร เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติโดยการใช้กล้องส่องที่มีลักษณะยาว เล็กและโค้งงอ มีกล้องวิดีโอขนาดเล็กและหลอดไฟอยู่ส่วนปลาย ซึ่งจะมีการบันทึกวิดีโอและปรากฏบนหน้าจอ ทำการตรวจผนังของทางเดินอาหารตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ไปจนถึงลำไส้ การส่องกล้องทางเดินอาหารสามารถแบ่งการตรวจเป็น 3 แบบ ตามอวัยวะส่วนที่ตรวจ ดังนี้
- การส่องกล้องเพื่อตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และสำไส้เล็กส่วนต้น (Gastroscopy : EGD)
- การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
- การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography: ERCP)
1. การส่องกล้องเพื่อตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และสำไส้เล็กส่วนต้น (Gastroscopy: EGD)
เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะ เป็นท่อขนาดเล็ก ปรับโค้งงอได้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 cm ที่ปลายกล้องจะมีเลนส์ขยายภาพ ปลายอีกข้างหนึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสงและส่งภาพมายังจอรับภาพ ส่องเข้าไปในปาก ผ่านหลอดอาหารลงไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น การส่องกล้องตรวจจะทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบาก อาเจียนเป็นเลือด ปวดท้องจุกแน่นลิ้นปี่ เพื่อการวินิจฉัยโรคหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เช่น การอักเสบ เป็นแผล มีเนื้องอก หรือมีการตีบตันของอวัยวะเหล่านี้ หากพบความผิดปกติ แพทย์ก็สามารถใส่เครื่องมือเพื่อการรักษาเข้าไปได้ เช่น หากพบการตีบตัน แพทย์จะใส่เครื่องมือขยายหลอดอาหาร เป็นต้น
2. การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก โค้งงอได้ ที่ปลายกล้องมีเลนส์ขยายภาพ ปลายอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสง แล้วส่งภาพมายังจอรับภาพ ส่องเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนกลาง ส่วนต้นและลำไส้เล็กส่วนปลาย โดยการตรวจวิธีนี้แนะนำสำหรับผู้ที่มีอาการขับถ่ายอุจจาระผิดปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย มีการถ่ายอุจจาระปนเลือด ถ่ายเป็นเลือดหรืออุจจาระมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ ผู้ที่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ หรือผู้ที่มีก้อนในท้อง น้ำหนักลดและอ่อนเพลีย นอกจากนี้ยังแนะนำตรวจในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจทางทวารหนักโดยการส่องกล้องทุก 5-10 ปี โดยสิ่งที่ตรววจพบส่วนใหญ่ มักจะพบลำไส้อักเสบ ริดสีดวง กระเปาะลำไส้ใหญ่ (Diverticulum) ติ่งเนื้อ และเนื้องอกลำใส้ใหญ่ เป็นต้น
3. การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography: ERCP)
เป็นการใช้กล้องส่องเข้าไปทางปาก ผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นจนถึงท่อเปิดของน้ำดีในลำไส้เล็กแล้วฉีดสารทึบแสงและถ่ายภาพเอกซเรย์ไว้ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน รวมถึงรักษาการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีหรือท่อตับอ่อน โดยใส่ท่อระบายน้ำดีคาไว้ ซึ่งความจำเป็นในการทำ ERCP ได้แก่ ดีซ่าน นิ่วในทางเดินน้ำดี ท่อน้ำดีอุดตัน เนื้องอกของท่อทางเดินน้ำดีหรือตับอ่อน และเพื่อการวินิจฉัยก่อนการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด
ผู้รับบริการจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?
- ต้องงดน้ำงดอาหาร 6-8 ชม. ก่อนเข้ารับการตรวจ
- ถ้ามีฟันปลอมชนิดถอดได้ ต้องถอดออกก่อน
- หากเป็นการตรวจด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ( Colonoscopy) จะมีการเตรียมลำไส้ หรือสวนอุจจาระก่อนตรวจ
- ในวันที่รับการตรวจควรมีญาติมาด้วย เพราะแพทย์อาจให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ อาจมีอาการง่วงซึมหลังการตรวจไม่แนะนำให้ขับรถเองหลังการตรวจ
ข้อควรรู้กับอาการที่อาจจะเกิดขึ้นหลังได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหาร
- แน่นอึดอัดท้อง จะทุเลาลง เมื่อได้ผายลม
- มีภาวะเลือดออกจากตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ โดยปกติแผลจากการตัดชิ้นเนื้อจะมีขนาดเล็กและเลือดหยุดได้เอง แต่ถ้าผู้ป่วยรับประทานยาในกลุ่มยาละลายลิ่มเลือด อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะเลือดออกภายในกระเพาะได้
- เจ็บบริเวณท้องน้อย หรือทวารหนัก อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ทุเลาลงและหายไป
- ทั้งนี้หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องมาก ท้องแข็ง มีไข้สูง ให้รีบมาพบแพทย์ทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด
ปัจจุบัน โรคระบบทางเดินอาหารมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น บางส่วนมีเหตุผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบัน ทั้งทางด้านการรับประทานอาหารผิดเวลา การรับประทานอาหารที่มากหรือน้อยเกินไป ความเครียด รวมไปถึงการออกกำลังไม่สม่ำเสมอด้วย สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลเสียต่อระบบการย่อยอาหาร และก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารได้ในอนาคต ดังนั้นการหมั่นสังเกตความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและลำไส้ซึ่งต้องให้ความใส่ใจต่อการสัญญาณผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ทีมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ
นพ.กันตพัฒน์ วรพิมล
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
พญ.กานต์ ภูษณสุวรรณศรี
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
นพ.ขจรศักดิ์ มีมงคลกุลดิลก
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
รศ.พญ.ชลธิชา เอื้อสมหวัง
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
รศ.ดร.พญ.พจมาน พิศาลประภา
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
พญ.เพ็ญประไพ หงษ์ศรีสุวรรณ์
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
นพ.รณกร คงสกนธ์
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
นพ.สมบุญ รุ่งจิรธนานนท์
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
นพ.สรฉัตร นิลธวัช
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
พญ.สาวินี จิริยะสิน
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
พญ.สิริรัตน์ พุทธศิริวัฒน์
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
นพ.สุขุมพันธ์ เก่าเจริญ
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
พญ.อรอุมา สัตยเลิศยรรยง
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
นพ.อาสาฬห์ โชติพันธุ์วิทยากุล
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
ความชำนาญพิเศษ : อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
บทความทางการแพทย์ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ