ป้องกันการตั้งครรภ์ด้วย....ห่วงอนามัย

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพสตรี

บทความโดย : พญ. จุฑาภรณ์ อุทัยแสน

ป้องกันการตั้งครรภ์ด้วย....ห่วงอนามัย

การคุมกำเนิดในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล แต่หลักๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การคุมกำเนิดแบบถาวร และการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยแต่ละวิธีก็จะให้ผลที่แตกต่างกันออกไป แต่ในที่นี่เราจะมากล่าวถึงวิธีคุมกำเนิดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ

ห่วงอนามัย หรือ ห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine Device : IUD) เป็นวิธีคุมกำเนิดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง มีผลข้างเคียงน้อย ปัจจุบันห่วงอนามัย แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ห่วงอนามัยชนิดเคลือบสารทองแดง และ ห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมนโพรเจสติน ห่วงอนามัยเป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดที่ มีลักษณะเป็นรูปตัวที (T) มีขนาดประมาณ 3 เซนติเมตร ใช้วิธีใส่เข้าไปให้พอดีกับมดลูก ทำหน้าที่ป้องกันอสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ สามารถคุม กำเนิดได้นาน 3 - 10 ปี แล้วแต่ชนิดของห่วงคุมกำเนิด


ข้อดีของการใส่ห่วงอนามัย

  1. มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง โอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่า 1:100
  2. มีอายุการใช้งานยาวนาน 3 - 10 ปี
  3. ไม่ต้องถูกฉีดยาทุก 3 เดือน ไม่ต้องกินยาทุกวัน (ในผู้ที่ไม่ต้องการใช้ฮอร์โมน)
  4. คุณสามารถตั้งครรภ์ได้ทันทีที่ต้องการ เมื่อเอาห่วงออก

ช่วงเวลาในการใส่ห่วงอนามัย

  1. ผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและคุมกำเนิดได้ในระยะยาว
  2. ผู้ที่ต้องการเว้นช่วงการมีบุตรอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
  3. ผู้ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน

ผู้ที่ไม่ควรใช้ยาฝังคุมกำเนิด

  1. ในระหว่างมีประจำเดือน หรือหลังจากเพิ่งหมดประจำเดือน
  2. 4-6 สัปดาห์หลังคลอดบุตร กรณีผ่าคลอดควรใส่ห่วงหลัง 8 สัปดาห์
  3. ในระหว่างที่มีการผ่าตัดเพื่อทำแท้ง
  4. หลังการร่วมเพศที่ไม่มีการป้องกัน (ใช้ห่วงแบบเคลือบทองแดง) เป็นการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินอย่างหนึ่ง

ใครใช้ห่วงอนามัยได้บ้าง

ห่วงคุมกำเนิดเหมาะสำหรับผู้หญิงแทบทุกคน ทั้งวัยรุ่นและหญิงสาวที่ยังไม่เคยมีบุตร ห่วงแบบฮอร์โมนยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนมามากอีกด้วย


ใครใช้ห่วงอนามัยได้บ้าง


ใครที่ไม่ควรใช้ห่วงอนามัย

  • ผู้ที่ทราบว่าเป็นภูมิแพ้ทองแดง
  • มีประวัติของโรคนรีเวชของสตรี เช่น เป็นโรคมะเร็งมดลูกหรือมะเร็งปากมดลูก
  • คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำเสี่ยงติดเชื้อ
  • คนที่เคยเป็น PID อุ้งเชิงกรานอักเสบภายใน 3 เดือน

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังใส่ห่วงอนามัย

  1. หลังใส่ห่วงอนามัย 1-3 เดือนแรก อาจมีอาการปวดท้องเมื่อมีประจำเดือน และอาจมีเลือดออกกระปริดกระปรอย
  2. อาจมีตกขาว และอาจทำให้มีประจำเดือนมากขึ้น

ข้อปฏิบัติหลังการใส่ห่วงอนามัย

  1. ควรไปตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง
  2. ต้องเปลี่ยนห่วงอนามัยเมื่อหมดอายุการใช้งาน ประมาณ 5-10 ปี แล้วแต่ชนิดของห่วงอนามัย
  3. ควรตรวจสอบว่าด้ายของห่วงอนามัยยังอยู่ที่เดิมหลังการมีประจำเดือนหรือไม่ โดยการใส่นิ้วคลำสายห่วง
  4. ในช่วงมีประจำเดือน โปรดตรวจสอบผ้าอนามัยเพื่อสังเกตว่าห่วงอนามัยหลุดออกมาหรือไม่

อาการที่ต้องพบแพทย์

  • ปวดท้องน้อยผิดปกติ
  • ประจำเดือนผิดปกติ เช่น ไม่มา มากระปริดกระปรอย
  • คลำไม่เจอสายห่วง หรือสายห่วงสั่นลงผิดปกติ
  • ห่วงหลุดออกมาข้างนอก
  • เป็นไข้ ไม่ทราบสาเหตุ
  • เจ็บตอนมีเพศสัมพันธ์

การคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ต้องทำโดยแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ห้ามพยายามกระทำ หรือนำออกด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาได้


Share :

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย