ไขข้อข้องใจ “ซีสต์ที่เต้านม” อันตรายแค่ไหน เสี่ยงมะเร็งร้ายจริงหรือ?

ศูนย์ : ศูนย์รักษ์เต้านม

บทความโดย : นพ. ปริศนา สิรยานนท์

ไขข้อข้องใจ “ซีสต์ที่เต้านม” อันตรายแค่ไหน เสี่ยงมะเร็งร้ายจริงหรือ?

ผู้หญิงหลายคนย่อมเกิดความกังวลใจ เมื่อคลำเจอสิ่งผิดปกติที่เต้านม เพราะกลัวว่าก้อนที่คลำเจอนี้จะเป็นอันตรายมากน้อยแค่ไหน และกลัวว่าตัวเองจะเป็นซีสต์ที่เต้านม หรือ มะเร็งเต้านมกันแน่? แต่ก่อนที่จะเกิดความวิตกกังวลไปมากกว่านี้ เรามาทำความรู้จักกับซีสต์ที่ว่านี้คืออะไร มันจะเป็นอันตรายหรือไม่ ทิ้งไว้จะเป็นมะเร็งหรือเปล่า หรือต้องผ่าซีสต์ออกหรือไม่


ซีสต์ที่เต้านม คืออะไร

ซีสต์ที่เต้านม (Breast Cyst) หรือ ถุงน้ำในเต้านม เป็นสิ่งที่พบได้เป็นปกติในเต้านมของผู้หญิงทั่วไป เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของต่อมผลิตน้ำนมขนาดเล็กๆ ภายในเต้านม คือต่อมหรือท่อน้ำนมพวกนี้จะมีการฝ่อรวมกันเป็นโพรง (space) จากโพรงเล็กๆ ขยายใหญ่ขึ้นมา แล้วสิ่งที่บรรจุอยู่ในโพรงก็คือ “น้ำ” ซึ่งจะอยู่กันเป็นหย่อมๆ ทำให้เวลาตรวจดูจะพบเป็นถุงน้ำ หรือเมื่อคลำจากภายนอกก็ได้เป็นก้อนในเนื้อ เล็กบ้างใหญ่บ้างแล้วแต่ละรายไป


ซีสต์ในเต้านม, ถุงน้ำในเต้านม


ซีสต์หรือถุงน้ำในเต้านม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.ซีสต์ขนาดเล็ก (micro cyst) มักพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อเต้านมทั้งเต้า คือหลับตาตัดเนื้อเยื่อตรงส่วนไหนของเต้านมของคนไหนก็ตาม มาส่องกล้องตรวจก็จะเจอได้เสมอๆ นั่นคือเป็นสิ่งปกติที่พบได้อยู่แล้ว ไม่แปลกอะไร ซีสต์พวกนี้มีขนาดเล็กมาก คลำไม่เจอ ตรวจอัตราซาวนด์อาจพบได้ โดยทั่วไปมีขนาดระดับ ไมครอน จนถึง 2-3 มิลลิเมตร

2.ซีสต์ขนาดใหญ่ (macro cyst) จะมีขนาดใหญ่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือคลำได้ พบได้เรื่อยๆ ในคนที่ตรวจเช็คเต้านม ก็ถือว่าเป็นสิ่งปกติ ไม่แปลกอะไร หากมีขนาดใหญ่จนคลำได้ (2-3 ซม.)


ซีสต์ในเต้านม, ถุงน้ำในเต้านม


สาเหตุของการเกิดซีสต์ที่เต้านม

ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดว่าซีสต์ที่เต้านมเกิดจากขึ้นได้อย่างไร โดยซีสต์ชนิดนี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงที่ผู้หญิงมีรอบเดือน ทั้งนี้ ยังมีการสันนิษฐานว่าระดับเอสโตรเจนที่มากเกินไปในร่างกายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดถุงน้ำที่เต้านม โดยเอสโตรเจนจะกระตุ้นเนื้อเยื่อตรงเต้านม และอาจก่อให้เกิดซีสต์ที่บริเวณดังกล่าว


ซีสต์ในเต้านม, ถุงน้ำในเต้านม


อาการของซีสต์ที่เต้านมเป็นอย่างไร

ซีสต์ที่เต้านมอาจพบที่เต้านมข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยถุงน้ำในเต้านมดังกล่าวจะเป็นก้อนกลมหรือก้อนรีไข่ พื้นผิวเรียบ เคลื่อนย้ายได้ง่าย มักปรากฏตามแนวของเต้านม หัวนมออกสีเหลืองหรือน้ำตาลเข้ม หน้าอกจะขยายใหญ่หรือคัดตึงก่อนประจำเดือนมาและลดลงหลังหมดประจำเดือน ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บหรือคัดเต้านมตรงบริเวณที่มีซีสต์ขึ้น รวมทั้งคลำได้ก้อนนิ่มๆ ที่เต้านมด้วย


ซีสต์ในเต้านม, ถุงน้ำในเต้านม


วิธีการการตรวจวินิจฉัยซีสต์

1. ตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ โดยเบื้องต้นแพทย์สามารถวินิจฉัยซีสต์ หรือถุงน้ำในเต้านมได้ทันทีด้วยการคลำก้อนเนื้อที่ขึ้นมา หากซีสต์ที่ผู้ป่วยเป็นนั้นขึ้นที่ผิวหนังหรือบนอวัยวะที่สามารถคลำเพื่อวินิจฉัยได้ แต่วิธีนี้ไม่สามารถระบุได้ว่าก้อนที่ตรวจพบนั้นเป็นก้อนเนื้อ หรือถุงน้ำ จึงควรจะต้องทำการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ เพื่อยืนยันเพิ่มเติม

2. ตรวจวินิจฉัยโดยการอัลตราซาวด์เต้านม (Ultrasound) เป็นการตรวจเต้านมด้วยการส่งคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงเข้าไปในเต้านม จากนั้นคลื่นเสียงจะสะท้อนกลับมาที่เครื่องแสดงความไม่เหมือนของเนื้อเยื่อที่พบได้ว่าธรรมดา หรือเปล่าธรรมดา ทั้งยังสามารถบอกได้ว่า สิ่งผิดปกติเป็นถุงน้ำ หรือก้อนเนื้อ และการอัลตราซาวด์จะมีผลให้ทราบดีว่า ก้อนเนื้อนั้นมีขอบเขตที่มองธรรมดา หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นเนื้อร้ายหรือไหม

3. ตรวจวินิจฉัยด้วยแมมโมแกรม (Mammogram) เป็นการตรวจเต้านมด้วยเครื่องมือที่ใช้รังสีชนิดพิเศษเหมือนการเอกซเรย์ ซึ่งการตรวจแมมโมแกรมจะเป็นการฉายภาพเต้านมด้านละ 2 รูป รวมทั้งถ่ายจากข้างบนแล้วก็ด้านข้างรวมเป็น 4 รูป โดยแพทย์จะสามารถเห็นรายละเอียดของเยื่อ ต่อมน้ำนม ไขมัน หินปูน และก้อนเนื้อขนาดเล็ก ซึ่งจะเจาะจงตำแหน่งที่ได้อย่างถูกต้อง

4. การใช้เข็มเจาะที่เต้านมดูดของเหลวไปตรวจ โดยวิธีนี้แพทย์จะทำการเจาะดูดของเหลวออกจากในก้อนถุงน้ำ ถ้าของเหลวที่ดูดออกมาไม่มีเลือดปนก็ไม่จำเป็นต้องทำการตรวจอย่างอื่นต่อ


ซีสต์ในเต้านม, ถุงน้ำในเต้านม


แนวทางการรักษา

แม้ว่าซีสต์อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บได้ หากไม่เจ็บ ไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องรักษาแต่อย่างใด อาจจะทำเพียงการติดตามตรวจดูขนาดของถุงน้ำว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่เท่านั้น แต่ถ้าเป็นซีสต์ที่มีอาการและก้อนใหญ่ หรือ แพทย์แนะนำว่าผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจะมีวิธีการต่างๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาวิธีการที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายละเอียดดังนี้

  1. การเจาะดูดของเหลวด้วยเข็ม โดยแพทย์จะเจาะดูดเอาน้ำด้านในออก เมื่อดูดน้ำออกแล้วอาการก็จะดีขึ้น หลังจากเจาะเอาน้ำออกแล้วประมาณ 50% จะหายไปเลยไม่เป็นขึ้นมาอีก แต่อีก 50% ก็มีโอกาสที่ซีสต์จะกลับขึ้นมาใหม่ ถ้ายังมีอาการอยู่การเจาะเอาน้ำออกอาจทำได้อีก 1-2 ครั้ง
  2. การใช้ฮอร์โมน การใช้ยาจำพวกยาคุมกำเนิดเพื่อปรับระดับฮอร์โมนในร่างกาย และประจำเดือนอาจจะช่วยลดการเกิดถุงน้ำที่เต้านมได้ การหยุดฮอร์โมนทดแทนในหญิงวัยทองก็ช่วยได้เช่นกัน
  3. การผ่าตัด ในผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องผ่าตัด เช่น มีอาการค่อนข้างมาก หรือมีการเจาะดูดออกแล้วพบเลือดปน หรือสงสัยความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง

การดูแลอาการของผู้ป่วยซีสต์ที่เต้านม

เนื่องจากซีสต์ที่เต้านมไม่สามารถป้องกันได้ แต่ผู้ป่วยสามารถดูแลอาการป่วยได้ด้วยตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้อาการของโรคลุกลามไปมากกว่าเดิมได้ โดยที่ผู้ที่ป่วยเป็นซีสต์ที่เต้านมควรสวมเสื้อชั้นในที่ใช้หลังทำศัลยกรรม หรือสปอร์ตบราเพื่อช่วยประคองเต้านมและช่วยให้ไม่รู้สึกอึดอัด หากรู้สึกเจ็บที่ก้อนซีสต์ สามารถประคบด้วยของอุ่น ของเย็น หรือถุงน้ำแข็งเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด และรับประทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์แนะนำ เช่น ยาพาราเซตามอล หรือกลุ่มยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ อย่างยาแอสไพรินหรือยานาพรอกเซน


ซีสต์หรือถุงน้ำที่เกิดขึ้นที่เต้านม มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งหรือไม่?

ถุงน้ำของเต้านม หรือซีสต์ ถ้าเป็นซีสต์ธรรมดา หมายถึงถุงที่ภายในมีน้ำ โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่กลายเป็นมะเร็ง ถ้าไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องจัดการ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่ซีสต์เกิดขึ้นแล้วมีความผิดปกติตั้งแต่ต้นและมีลักษณะเป็นมะเร็งเต้านม การจะทราบว่าซีสต์ที่เป็นนั้นมีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นมะเร็งหรือไม่ ที่แน่นอนจะต้องได้รับการตัดชิ้นเนื้อเพื่อพิสูจน์ แต่โดยทั่วไปแพทย์สามารถบอกได้ว่า ลักษณะของซีสต์ที่เกิดขึ้น ส่อเค้าว่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่ ทั้งนี้หากไม่แน่ใจว่าก้อนที่เต้านมที่ตรวจพบเป็นซีสต์ หรือเป็นมะเร็ง ควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด


ซีสต์ในเต้านม, ถุงน้ำในเต้านม


Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย