มะเร็งหลังโพรงจมูก ตรวจได้ด้วยการส่องกล้องโพรงจมูก

ศูนย์ : ศูนย์โสต ศอ นาสิก

บทความโดย : พญ. จุฑามาส สุวัฒนภักดี

มะเร็งหลังโพรงจมูก ตรวจได้ด้วยการส่องกล้องโพรงจมูก

การส่องกล้องโพรงจมูก โดยการสอดกล้องที่มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ เข้าไปในจมูก เป็นการตรวจหาความผิดปกติของโพรงจมูก ในผู้ที่มีอาการเป็นหวัดเรื้อรัง คัดจมูกไม่หาย หูอื้อข้างเดียวเรื้อรัง เลือดกำเดาไหลบ่อย หรือเคยมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งบริเวณหลังโพรงจมูก เพราะอาการเหล่านี้อาจจะเป็นสาเหตุของมะเร็งหลังโพรงจมูกได้ ซึ่งการส่งกล่องนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นเยื่อบุผิวบริเวณโพรงหลังจมูกได้โดยตรง และชัดเจน สามารถช่วยตัดสินในการรักษา ให้ถูกต้อง และเหมาะสมมากขึ้น รวมทั้งยังสามารถใช้ติดตามผลการรักษาด้วยการส่องกล้องตรวจว่าได้ผลดี มาก น้อยเพียงใดได้อีกด้วย


ตรวจหามะเร็งหลังโพรงจมูกด้วยการส่องกล้องโพรงจมูก

มะเร็งหลังโพรงจมูก ถือว่าเป็นภัยเงียบที่ต้องระวัง เพราะเกิดขึ้นในตำแหน่งซึ่งยากต่อการมองเห็นด้วยตาเปล่า และมักมีอาการเริ่มต้นคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัด หรือ คล้ายโรคภูมิแพ้เรื้อรัง จึงทำให้ใครหลายคนเข้าใจผิด ไม่ได้รับการตรวจและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จนก้อนโตขึ้นลุกลามทำให้ยากแก่การรักษา ฉะนั้นการส่องกล้องโพรงจมูก จะสามารถให้การวินิจฉัยเป็นไปได้อย่างถูกต้องและแม่นยำขึ้น สามารถตรวจพบพยาธิสภาพที่ซ่อนอยู่ซึ่งไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจร่างกายธรรมดา นอกเหนือจากการตรวจวินิจฉัยแล้ว ยังใช้ช่วยในการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

> กลับสารบัญ


การส่องกล้องโพรงจมูกเป็นอย่างไร

การส่องตรวจโพรงจมูก เป็นการสอดกล้องที่มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ เข้าไปในจมูก โดยแพทย์และผู้ป่วยสามารถเห็นภาพจากการตรวจด้วยจอภาพความละเอียดสูงไปพร้อมๆ กัน เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโรคทางจมูก วินิจฉัย มะเร็งหลังโพรงจมูก โดยทั่วไปแพทย์จะใช้กล้องชนิดแข็ง ที่เรียกว่า เทเลเอ็นโดสโคป (tele endoscope) ขนาด 4 มิลลิเมตร ในการตรวจโพรงจมูก หากผู้ป่วยมีช่องจมูกแคบมาก หรือมีช่องจมูกเล็ก แพทย์จะเลือกใช้กล้องเทเลเอ็นโดสโคปขนาด 2.7 มิลลิเมตรแทน นอกจากนี้แพทย์อาจใช้กล้องชนิดอ่อน ที่เรียกว่า เฟล๊กซิเบิ้ลเอ็นโดสโคป (flexible endoscope) ในผู้ป่วยที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ หรือเวลาผู้ป่วยเคลื่อนไหวศีรษะ ซึ่งจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อโพรงจมูกน้อย

> กลับสารบัญ


ใครบ้างควรตรวจส่องกล้องโพรงจมูก

  1. ผู้ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่มานาน
  2. ผู้ป่วยที่คลำพบก้อนและหรือต่อมน้ำเหลืองโต (Lymphadenopathy) นานเกิน 2 สัปดาห์
  3. เคยติดเชื้อไวรัส Epstein-Barr virus (EBV) มาก่อน โดยเฉพาะบริเวณจมูกและคอ
  4. ผู้ที่มีอาการหวัดเรื้อรัง คัดจมูกเป็นประจำ
  5. ผู้ที่มีเลือดกำเดาไหลบ่อยๆ หรือมีเลือดไหลลงคอ

> กลับสารบัญ


การเตรียมตัวก่อนส่องกล้องโพรงจมูก

  • ผู้ป่วยที่มารับการส่องกล้องโพรงจมูก ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร
  • ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับโรคประจำตัว ยาที่รับประทานเป็นประจำ รวมทั้งประวัติการแพ้ยา โดยเฉพาะยาชา

> กลับสารบัญ


ขั้นตอนการส่องกล้องโพรงจมูก

ขั้นตอนการส่องกล้องโพรงจมูก ขั้นตอนแรกแพทย์จะใช้น้ำยาหดหลอดเลือด ผสมกับยาชา ในอัตราส่วน 1:1 แล้วพ่นหรือชุบสำลีเข้าไปในโพรงจมูกของผู้ป่วยทั้ง 2 ข้าง รอประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เยื่อบุจมูกที่บวมอยู่ยุบลง พอเยื่อบุจมูกยุบลงจะทำให้สามารถสอดกล้องเข้าไปตรวจได้ง่ายขึ้น และยาชาจะทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บระหว่างการใช้กล้องส่องตรวจ

จากนั้นจะให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งบนเก้าอี้ตรวจที่มีพนักพิงและมีที่พิงศีรษะ แล้วแพทย์จะทำการสอดกล้องที่มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ เข้าไปในจมูก เพื่อทำการตรวจ ขณะตรวจผู้ป่วยไม่ควรเคลื่อนไหวศีรษะเพราะจะทำให้กล้องกระทบกับโพรงจมูกทำให้เกิดอาการเจ็บได้ ระหว่างการส่องตรวจอาจมีอาการเจ็บ คันหรือแสบจมูก และอาจจามได้เล็กน้อย

> กลับสารบัญ


การปฏิบัติตัวหลังส่องกล้องโพรงจมูก

หลังส่องกล้องหากไม่มีอาการผิดปกติใดๆ สามารถกลับบ้านได้ และรับประทานอาหารได้ตามปกติ ภายใน 24 ชั่วโมงแรกผู้ป่วยอาจมีน้ำมูก หรือเสมหะไหลลงคอมากขึ้น อาจมีอาการแสบ หรือคัดจมูกได้ แต่อาการดังกล่าวมักจะหายไปได้เอง

> กลับสารบัญ


การส่องกล้องโพรงจมูกจะช่วยให้เห็นภาพความผิดปกติได้โดยตรง ชัดเจน โดยเฉพาะในบริเวณที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทำให้การวินิจฉัยและประเมินพยาธิสภาพภายโพรงจมูกเป็นไปได้อย่างถูกต้องแม่นยำขึ้น รวมทั้งยังบอกระยะและความรุนแรงของโรคได้ ทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้ถูกต้องมากขึ้น ทั้งนี้สามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้เลย




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย