ยาเคมีบำบัด หรือ คีโม (Chemotherapy) จัดการเซลล์มะเร็ง

ศูนย์ : ศูนย์มะเร็ง รพ.นครธน

บทความโดย :

ยาเคมีบำบัด หรือ คีโม (Chemotherapy) จัดการเซลล์มะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรงของโรค โดยยาเคมีบำบัด หรือ คีโม นับเป็นการรักษาทางยาที่ใช้มากที่สุดในการรักษาโรคมะเร็งปัจจุบัน โดยแพทย์อาจใช้คีโมเป็นการรักษาหลักเพียงอย่างเดียว หรืออาจให้เพื่อการรักษาเสริมร่วมกับการรักษาแบบอื่นๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มโอกาสหายขาดให้สูงขึ้นกว่าการรักษาเฉพาะที่เพียงอย่างเดียว



ยาเคมีบำบัด (คีโม) ทำงานอย่างไร

ยาเคมีบำบัด หรือที่รู้จักกันในชื่อ คีโม (Chemotherapy) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านหรือทำลายเซลล์มะเร็ง โดยมีเป้าหมายสำคัญคือเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวเร็ว และต่อเนื่อง ยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง หลายรูปแบบ ทำให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัวต่อไปและตายในที่สุด

> กลับสารบัญ


เป้าหมายการรักษามะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด

แพทย์อาจใช้ยาเคมีบำบัดเพื่อจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการรักษา การควบคุม หรือการประคับประคอง ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจพิจารณาใช้ยาเพียงชนิดเดียว แต่บ่อยครั้งมักมีการให้ยาสองชนิดหรือใช้ร่วมกับการรักษาในแบบอื่นๆ เช่น การให้ยาเคมีบำบัด (คีโม) เสริมก่อน และภายหลังการผ่าตัด การให้ยาร่วมกับการฉายแสง เป็นต้น โดยประเภทและจำนวนของยาที่ผู้ป่วยได้รับจะขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งที่เป็น ระยะหรือความรุนแรงของโรค และการกระจายของเซลล์มะเร็งสู่อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้สูงขึ้นกว่าการรักษาเฉพาะที่เพียงอย่างเดียว

> กลับสารบัญ


รูปแบบของยาเคมีบำบัด

ยาเคมีบำบัด หรือ คีโม สามารถให้เข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยได้หลายวิธี ได้แก่นี้

  • เคมีบำบัดชนิดรับประทาน โดยจะช่วยให้การบริหารยาสะดวกมากขึ้น และลดการเข้าพักในโรงพยาบาลเพื่อให้ยาเคมีบำบัด
  • เคมีบำบัดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด โดยการหยดร่วมกับสารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดำ

> กลับสารบัญ


ระยะเวลาในการรักษาด้วยเคมีบำบัด

ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของโรคมะเร็ง ระยะของโรคมะเร็ง และการตอบสนองต่อยา โดยปกติจะให้เป็นชุด ใช้เวลา 1-5 วันต่อชุด แต่ละชุดห่างกัน 2-4 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาเฉลี่ย 6-8 ชุด ซึ่งขึ้นกับแผนการรักษาของแพทย์ โดยผู้ป่วยควรมารับยาตามนัดทุกครั้งเพื่อผลการรักษาที่ดี

> กลับสารบัญ


การเตรียมตัวก่อนการรักษาด้วยเคมีบำบัด

  1. แพทย์จะประเมินความพร้อมของผู้ป่วย และตรวจเลือดเพื่อประเมินความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การทำงานของตับและไต เนื่องจากยามีผลกดการทำงานของไขกระดูกซึ่งทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดต่ำได้ และยาเคมีบำบัด (คีโม) บางชนิดต้องมีการปรับขนาดยาตามการทำงานของตับและไต
  2. หากมีโรคประจำตัว เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
  3. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ขาว นม เป็นต้น
  4. พักผ่อนให้เพียงพอและเพิ่มการนอนพักในช่วงกลางวันอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
  5. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา การสูบบุหรี่ และการรับประทานสมุนไพร

> กลับสารบัญ


การดูแลตนเองขณะรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

  • สังเกตผิวหนังบริเวณที่ฉีดยา ถ้ารู้สึกปวด บวม แดง หรือสงสัยมียารั่วซึมออกนอกเส้นเลือด ต้องแจ้งพยาบาลทันที
  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับสารเคมีที่อาจตกค้างในร่างกายออกทางปัสสาวะ
  • หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้แจ้งพยาบาลทันที

> กลับสารบัญ


การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้านหลังจากรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

  • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ต่อไปอีกประมาณ 1 เดือนเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
  • กรณีมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียนมาก ท้องเสียรุนแรง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกจากอวัยวะต่างๆ ก่อนถึงวันนัดครั้งต่อไปให้ติดต่อเพื่อนัดพบแพทย์ก่อนวันนัดเดิม
  • กรณีไม่มีอาการผิดปกติควรมาตรวจสม่ำเสมอตามวันนัด

> กลับสารบัญ


ยาเคมีบำบัด (คีโม) มีผลข้างเคียงมากน้อยแค่ไหน

เนื่องจากการทำคีโมอาจมีผลต่อเซลล์ปกติของร่างกายที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง โดยผลข้างเคียงในผู้ป่วยแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของสูตรยาเคมีบำบัด ขนาดของยาที่ได้รับ และสภาวะของผู้ป่วยก่อนที่จะได้รับยานั้น เช่น ผมร่วง เยื่อบุช่องปากอักเสบ เบื่ออาหาร ท้องเสีย อ่อนเพลีย ภาวะซีด และเม็ดเลือดต่ำกว่าปกติ เป็นต้น แต่ผลข้างเคียงดังกล่าวเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อยาหมดฤทธิ์อาการต่างๆ จะค่อย ๆ ดีขึ้นและกลับสู่ภาวะปกติ หากมีอาการดังกล่าวรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องให้รีบพบแพทย์ทันที

> กลับสารบัญ


ทั้งนี้ด้วยความเจริญก้าวหน้าในการรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด (คีโม) ในปัจจุบัน ทำให้มียากลุ่มใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีมากขึ้น และมีผลข้างเคียงลดน้อยลงกว่ายากลุ่มเดิม รวมทั้งยังมียาที่ช่วยป้องกันและลดอาการข้างเคียงได้ ทำให้การใช้ยามีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีขึ้น และมีผลข้างเคียงลดน้อยลง



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย