โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว ภัยเงียบที่แฝงมาตั้งแต่กำเนิด

ศูนย์ : ศูนย์หัวใจ

บทความโดย : นพ. ธิปกร ผังเมืองดี

โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว ภัยเงียบที่แฝงมาตั้งแต่กำเนิด

โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 ของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เกิดขึ้นได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ ในวัยเด็กหากรูรั่วมีขนาดเล็กอาจยังไม่แสดงอาการ แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้นเข้าสู่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ก็จะแสดงอาการที่ผิดปกติออกมา เช่น อาการหอบ เหนื่อยง่าย ใจสั่น บางรายมีเขียวหรือม่วงบริเวณปลายมือ เท้า และริมฝีปาก หรือบางรายอาจตรวจพบได้จากการตรวจเช็กสุขภาพหัวใจโดยบังเอิญ โรคนี้ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนถึงหัวใจล้มเหลวเฉียบพลับและเสียชีวิตได้



โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วเป็นอย่างไร

โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (Atrial Septal Defect: ASD) คือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวที่มีความผิดปกติ เกิดจากความผิดปกติของการพัฒนาการของหัวใจของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาในการสร้างผนังกั้นหัวใจเอเตรียมที่ไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดรูรั่วเป็นทางติดต่อระหว่างเอเตรียมซ้ายและเอเตรียมขวา การเกิดรูรั่วอาจเกิดเพียงรูเดียว หรือเกิดหลายๆ รูก็ได้ และอาจมีขนาดต่างๆ กัน ซึ่งทำให้เลือดแดงไหลจากหัวใจห้องบนซ้ายไปห้องบนขวาและผ่านไปปอดเพิ่มขึ้นส่งผลให้หัวใจโตผิดปกติ

> กลับสารบัญ


สัญญาณบ่งบอกว่าเป็นโรคนี้และอาการของโรค

  • มีเสียงหัวใจรั่ว
  • หายใจติดขัด
  • รู้สึกเหนื่อย
  • ขาบวม
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ปอดติดเชื้อได้ง่าย
  • เส้นเลือดในสมองตีบ
  • ผิวหนังออกเป็นสีเขียวคล้ำ
  • หากรูรั่วมีขนาดใหญ่แล้วปล่อยไว้โดยไม่รักษา เลือดปริมาณมากที่ไหลไปยังหัวใจห้องขวาอาจทำให้หัวใจและปอดเสียหาย ส่งผลให้หัวใจล้มเหลวและหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนในการรักษา มีเลือดออก ติดเชื้อ

> กลับสารบัญ


การตรวจวินิจฉัยผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว

การตรวจวินิจฉัยโรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วทำได้โดยการฟังเสียงหัวใจและการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูง (Echocardiogram) ส่งสัญญาณคลื่นเสี่ยง โดยจะเห็นภาพหัวใจ เห็นผนังกั้นหัวใจ ลิ้นหัวใจ เป็นการวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐานหากพบว่ามีรูรั่ว ก็พิจารณาดูว่าขนาดเล็ก ปานกลาง หรือใหญ่ มีหัวใจโตหรือยัง มีความดันในหลอดเลือดเลี้ยงปอดสูงหรือยัง ถ้าหัวใจโตแล้วมีความดันหลอดเลือดปอดสูงแล้ว ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยไหม ซึ่งจะช่วยให้อายุรแพทย์โรคหัวใจสามารถกำหนดแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง

> กลับสารบัญ


การรักษาผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว

  1. ผู้ป่วยที่มีรูรั่วขนาดเล็กมาก ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ไม่มีอาการหรือส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน ไม่ต้องทำการรักษา แนะนำการป้องกันการติดเชื้อภายในหัวใจและหลอดเลือด ถ้าต้องทำฟันหรือหัตถการที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  2. การรักษาด้วยยา เพื่อควบคุมอาการหัวใจล้มเหลวในรายที่มีขนากรูปานกลางหรือใหญ่ ในบางรายรูรั่วอาจมีขนาดเล้กลงหรือปิดได้เองภายใน 1-2 ปี
  3. การผ่าตัด จะพิจารณาในรายที่มีรูรั่วขนาดมากกว่า 36 มิลลิเมตรหรือมีรูรั่วหลายรู ซึ่งมีอาการหัวใจวายเรื้อรัง ไม่สามารถควบคุมอาการด้วยยารวมกับน้ำหนักตัวขึ้นช้าหรือน้อย ความดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงมีการติดเชื้อในปอดบ่อยและรุนแรง หรือพบร่วมกับการรั่วของลิ้นหัวใจของหลอดเลือดแดงใหญ่ของร่างกาย
  4. การรักษาด้วยเทคนิคสายสวนปิดผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วโดยไม่ต้องผ่าตัด (Transcatheter ASD Closure) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาผนังกั้นห้องหัวใจรั่วที่ไม่ต้องผ่าตัด โดยจะทำในรายที่มีลักษณะรูรั่วที่เหมาะสม โดยนำอุปกรณ์ที่เป็นโลหะ เข้าไปปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจผ่านทางสายสวนหัวใจโดยนำเข้าทางหลอดเลือดดำที่ขาหนีบขา เมื่อถึงบริเวณรูรั่วอุปกรณ์จะถูกปล่อยไปวางยังตำแหน่งรูรั่วเพื่อปิดรูที่รั่ว หลังจากนั้นร่างกายจะค่อยๆสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาคลุมภายใน 3-6 เดือน ลดความเสี่ยงลดความเจ็บปวดและผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัด แผลบริเวณขาหนีบมีขนาดเล็ก ใช้เวลาพักพื้น 48 ชั่วโมง

> กลับสารบัญ


โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วแต่กำเนิด แม้ว่าจะน่ากลัว แต่เป็นแล้วหากรู้แต่เนิ่น ๆ อาการยังไม่รุนแรงถึงที่สุดก็มีวิธีรักษาได้ด้วยการใส่อุปกรณ์ปิดรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องบนผ่านทางสายสวนหัวใจ (Transcatheter ASD Closure) อย่างไรก็ตามหากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจให้รีบปรึกษาแพทย์โดยทันที

นพ.ธิปกร ผังเมืองดี นพ.ธิปกร ผังเมืองดีิ์

นพ.ธิปกร ผังเมืองดี์

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ/หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
ศูนย์หัวใจ






ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย