ผ่าตัดสมองผ่านกล้อง เทคนิคที่ปลอดภัยและฟื้นตัวไว

ศูนย์ : ศูนย์สมองและระบบประสาท

บทความโดย : ผศ.นพ. พีรพงศ์ เหลืองอาภาพงศ์

ผ่าตัดสมองผ่านกล้อง เทคนิคที่ปลอดภัยและฟื้นตัวไว

เนื่องจากสมองมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสั่งการทำงานต่างๆ ของร่างกาย หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต ก่อให้เกิดความพิการแก่ร่างกาย หรืออาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นจึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ ก่อนนำไปสู่การรักษา ร่วมกับการป้องกันไม่ให้เกิดโรคซ้ำ การรักษาโรคที่เกี่ยวกับสมองนั้นมีความสำคัญและละเอียดอ่อนมาก จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือในการรักษาที่ครบครัน ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงนวัตกรรมการผ่าตัดสมองผ่านกล้องโดยใช้แผลขนาดเล็ก เป็นเทคนิคที่ปลอดภัยและฟื้นตัวไวา



การผ่าตัดผ่านกล้อง คืออะไร?

การผ่าตัดรักษาความผิดปกติของสมอง ด้วยการใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตได้มากขึ้นกว่าการผ่าตัดรักษาแบบเดิมที่เป็นการผ่าตัดแบบเปิดสมอง เพราะทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย ลดความกระทบกระเทือนอวัยวะสำคัญส่วนอื่น จึงทำให้มีประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้มากขึ้น และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวไว กลับมามีชีวิตที่ปกติได้เร็วขึ้น

> กลับสารบัญ


โรคที่ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดสมอง

โรคทางสมองในปัจจุบันที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

  1. โรคที่เกี่ยวข้องกับทางหลอดเลือดสมอง ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดสมองแตก การรักษาโดยการผ่าตัดจะเข้าไปช่วยเหลือโดยการนำก้อนเลือดในสมองที่แตกและคั่งอยู่ในสมองออก
  2. โรคที่เกี่ยวข้องกับเนื้องอกในสมองทุกชนิด หรืออวัยวะข้างเคียงในสมอง การรักษาโดยการผ่าตัดจะเข้าไปดูแลในแง่ของการตัดเอาก้อนเนื้องอกออก หรือการตัดเอาบางชิ้นส่วนของเนื้องอกเพื่อนำมาตรวจวินิจฉัยว่าเป็นชนิดใด
  3. โรคฝีในสมอง หรือการติดเชื้อในสมอง อุบัติเหตุที่ทำให้สมองมีเลือดออก และบวมช้ำ

> กลับสารบัญ


นวัตกรรมการผ่าตัดสมองผ่านกล้อง

นวัตกรรมการผ่าตัดสมองผ่านกล้อง หรือ การผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Surgery คือ การผ่าตัดโดยใช้แผลขนาดเล็กและเข้าไปให้ถึงรอยโรคอย่างแม่นยำ จะทำโดยการเจาะผิวหนังบริเวณที่จะทำการรักษาเป็นรูขนาดเล็ก หรือผ่านทางรูจมูก เพื่อสอดใส่กล้องขนาดเล็ก เครื่องมือผ่าตัดลงไปเพื่อทำการผ่าตัด ซึ่งรอยแผลจะมีขนาดเล็กประมาณ 1-2 ซม หรือขนาด 3-4 ซม. ในบางราย เพื่อให้ภาพที่ชัดเจนและลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในน้อย ลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ผู้ป่วยใช้ระยะเวลาพักฟื้นไม่นาน แผลเล็ก เจ็บน้อย โดยมีวิธีการผ่าตัด ได้แก่

  • การผ่าตัดผ่านกล้องกำลังขยายสูง (Microscopic) เป็นกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง และมีลำแสงที่สามารถส่งลงไปในจุดที่ลึกๆ ได้ จึงให้รายละเอียดในการผ่าตัดที่สูงขึ้น ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน มีความปลอดภัยมาก และลดอัตราการบาดเจ็บต่ออวัยวะสำคัญขนาดเล็กโดยรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้สำหรับผ่าตัดบริเวณที่มีรอยโรคขนาดเล็ก ทำให้สามารถมองเห็นโดยใช้กล้องขยาย และนำแสงเข้าไปถึงบริเวณรอยโรค
  • การผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก (Endoscopic) กล้องที่มีลักษณะเป็นแท่ง สอดเข้าไปในบริเวณสมองที่ต้องการผ่าตัดมีความละเอียดสูงทำให้มองเห็นในจุดที่ลึกได้อย่างชัดเจน โดยเครื่องมือชนิดนี้จะเหมาะสำหรับการผ่าตัดโดยใส่เข้าไปในโพรงต่างๆ ของกะโหลกศีรษะ เช่น โพรงจมูก เพื่อเข้าไปตัดก้อนเนื้องอกโดยเฉพาะก้อนเนื้องอกของต่อมใต้สมอง โดยที่ไม่ต้องเปิดแผลผ่าตัด และอีกโพรงก็คือ โพรงน้ำในสมอง เพื่อเข้าไประบายเอาน้ำคั่งในสมองออก

> กลับสารบัญ


การผ่าตัดสมองผ่านกล้องดีอย่างไร?

การผ่าตัดผ่านกล้องให้ความแม่นยำในการผ่าตัดสูงมาก สามารถมองเห็นส่วนต่างๆ ของสมองผ่านเลนส์ที่มีกำลังขยายสูง ทำให้การผ่าตัดปลอดภัยยิ่งขึ้น ไม่กระทบกระเทือนสมองส่วนอื่นๆ ทำให้ลดความเจ็บปวดของแผลหลังการผ่าตัด เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้น้อย การใช้กล้องเพื่อให้มองเห็นรอยโรคอย่างชัดเจน การใช้เครื่องมือ CUSA และ LASER ในการตัดรอยโรคออก ให้มีความบอบช้ำต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงให้น้อยที่สุด ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลน้อยลง ดังนั้นการรักษาโดยวิธีนี้จึงมั่นใจได้ว่าให้ความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยได้อย่างสูงที่สุด

> กลับสารบัญ


หากมีอาการที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับสมอง เช่น ปวดหัว ตาพร่า แขนขาอ่อนแรง นั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคร้ายทางสมองที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ควรเข้ารับการตรวจสมองเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรค และเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท ก็จะทำให้การรักษานั้นง่าย และกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

ผศ.นพ.พีรพงศ์ เหลืองอาภาพงศ์ ผศ.นพ.พีรพงศ์ เหลืองอาภาพงศ์

ผศ.นพ.พีรพงศ์ เหลืองอาภาพงศ์

ประสาทศัลยศาสตร์/รังสีร่วมรักษาระบบประสาท
ศูนย์สมองและระบบประสาท






ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย