เนื้องอกในสมอง ภัยร้ายที่มาพร้อมอาการปวดหัวเรื้อรัง

ศูนย์ : ศูนย์สมองและระบบประสาท

บทความโดย : นพ. ชาญวิทย์ อนุเคราะห์วิทยา

เนื้องอกในสมอง

เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) ภัยเงียบที่แฝงมากับอาการปวดหัวหัวเรื้อรัง แม้ในช่วงที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนเต็มที่ ไม่มีความเครียดหรือมีความกังวลใด ๆ ก็ยังปวด ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าเป็นไมเกรน รวมทั้งมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การพูด การได้ยิน การมองเห็น ความจำผิดปกติ โดยอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง หรืออาการเส้นเลือดในสมองตีบ ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างทันท่วงที หากทิ้งไว้อาจรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาตครึ่งซีก หรือเป็นมะเร็งสมองได้ ทั้งนี้สามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพออนไลน์ได้ข้างล่างเลย


เนื้องอกในสมอง คืออะไร?


เนื้องอกในสมองคืออะไร เนื้องอกในสมองคืออะไร

เนื้องอกในสมอง Brain Tumor คือ โรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อในสมอง หรือเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงสมองมีการเจริญเติบโตผิดปกติจนมีผลต่อระบบสมอง และระบบประสาททำให้ร่างกายมีอาการต่าง ๆ ตามมา ซึ่งเนื้องอกที่เจริญผิดปกตินั้นจะไปเบียดเนื้อสมอง และกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่มีสมองเป็นตัวควบคุม โดยเนื้องอกที่เกิดขึ้นในสมองอาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป โรคเนื้องอกสมองได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

  1. เนื้องอกในสมองชนิดไม่ร้ายแรง หรือ เป็นเนื้องอกแบบเนื้อธรรมดา เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมในเซลล์สมอง หรือการกลายพันธุ์ของเซลล์ ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตในอัตราที่ผิดปกติ ก้อนเนื้องอกมีการเจริญเติบโตช้า ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง สามารถรักษาให้หายได้
  2. เนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรงหรือมะเร็ง เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์มะเร็ง อาจเกิดขึ้นบริเวณสมอง หรือเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นแล้วลามเข้าสู่สมอง จะมีอัตราการเติบโตเร็วและอาจลุกลามหรือกดทับเนื้อเยื่อรอบข้าง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองและเป็นอันตรายต่อชีวิต

> กลับสารบัญ


เนื้องอกในสมองมีสาเหตุมาจากอะไร?

เนื้องอกในสมอง เกิดจากหลายสาเหตุ และในบางกรณีก็ไม่สามารถระบุสาเหตุแน่ชัดได้ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม การกลายพันธุ์ของยีนบางชนิดอาจทำให้เซลล์เจริญเติบโตผิดปกติ จนกลายเป็นเนื้องอก การมีคนในครอบครัวเคยเป็นเนื้องอกในสมอง อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น โดยพบได้ในทุกวัย แต่บางชนิดจะพบบ่อยในเด็ก และบางชนิดพบบ่อยในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ หากมีอาการสงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับเนื้องอกในสมอง เช่น ปวดหัวเรื้อรัง ชัก อาเจียนบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีปัญหาการมองเห็น/การพูด ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด

> กลับสารบัญ


ปัจจัยเสี่ยงของเนื้องอกในสมอง

สาเหตุของเนื้องอกในสมองเกิดจากอะไรยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามมีปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกในสมอง มีดังนี้

  • อายุ เนื้องอกในสมองเกิดได้กับคนทุกวัย แต่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดกับคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
  • เพศ เนื้องอกในสมองเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  • การสัมผัสกับกัมมันตรังสีหรือสารเคมีบางชนิดในที่ทำงาน

> กลับสารบัญ


อาการแบบไหนเสี่ยงเนื้องอกในสมอง?


อาการเนื้องอกในสมอง อาการเนื้องอกในสมอง

อาการของเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิด และขนาดของเนื้องอก บางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ และพบว่าเป็นเนื้องอกหลังเข้ารับการตรวจร่างกาย หากมีอาการเนื้องอกในสมองต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันที

  • เนื้องอกในสมอง อาการเริ่มต้น คือ ปวดหัวเรื้อรัง มีอาการปวดหัวมากกว่า 15 วันต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน โดยเฉพาะการอาเจียนในตอนเช้า
  • ค่อย ๆ สูญเสียความรู้สึกหรือการเคลื่อนไหวแขนหรือขา ชา อัมพาตบางส่วน
  • ปัญหาในการทรงตัวหรือเดิน
  • สับสน สูญเสียความทรงจำ อาการคล้ายคนเป็นอัลไซเมอร์ หรือบุคลิกภาพเปลี่ยนไป
  • หูอื้อ วิงเวียน
  • กล้ามเนื้อใบหน้าชาหรือเป็นเหน็บ
  • กลืนลำบาก
  • ตามัวหรือเห็นภาพซ้อน
  • ความบกพร่องทางการพูด ความลำบากในการเข้าใจและแสดงออกทางภาษา
  • ปัญหาด้านกระเพาะปัสสาวะและลำไส้

> กลับสารบัญ



ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

เนื้องอกในสมองมีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร?

หากพบอาการป่วยที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคหรือสาเหตุอย่างอื่น แพทย์อาจส่งตรวจหาเนื้องอกในสมองด้วยการสแกนสมอง ซึ่งเป็นการฉายภาพรังสีให้เห็นสมองและพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ภายใน เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) , เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเครื่องถ่ายภาพรังสี PET scan หากตรวจพบว่ามีเนื้องอกในสมอง แพทย์อาจส่งตรวจอวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อหาตำแหน่งของเซลล์มะเร็งที่อาจแพร่ลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ต่อไปได้

นอกจากนี้ อาจทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจวินิจฉัย (Biopsy) หาความผิดปกติของเนื้อเยื่อว่าเป็นเนื้องอกที่อยู่ในขั้นและระดับความรุนแรงใด เป็นเนื้อร้ายหรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

> กลับสารบัญ


แนวทางการรักษาเนื้องอกในสมอง

แพทย์จะรักษาให้เหมาะกับสภาพการณ์ของผู้ป่วยแต่ละราย เนื้องอกในสมอง รักษาหายไหม หากสภาพของผู้ป่วยไม่ร้ายแรง โอกาสที่จะหายมีสูงและความเสี่ยงที่ต้องผ่าตัดมีต่ำ โดยวิธีการโรคเนื้องอกในสมอง มีดังนี้

การผ่าตัดเนื้องอกในสมอง

การผ่าตัดเนื้องอกสมอง หากเนื้องอกในสมองอยู่ในบริเวณที่ง่ายต่อการผ่าตัด ไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อหรือเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงจนเสี่ยงต่ออันตรายร้ายแรง แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติออกไปจากจุดที่มีเนื้องอกในสมองให้ได้มากที่สุด โดยนวัตกรรมการผ่าตัดสมองมีดังนี้

  • การผ่าตัดผ่านกล้องกำลังขยายสูง (Microscopic) เป็นกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง และมีลำแสงที่สามารถส่งลงไปในจุดที่ลึก ๆ ได้ จึงให้รายละเอียดในการผ่าตัดที่สูงขึ้น ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน มีความปลอดภัยมาก และลดอัตราการบาดเจ็บต่ออวัยวะสำคัญขนาดเล็กโดยรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก (Endoscopic) กล้องที่มีลักษณะเป็นแท่ง สอดเข้าไปในบริเวณสมองที่ต้องการผ่าตัดมีความละเอียดสูงทำให้มองเห็นในจุดที่ลึกได้อย่างชัดเจน โดยเครื่องมือชนิดนี้จะเหมาะสำหรับการผ่าตัดบางอย่าง เช่น การผ่าตัดระบายน้ำคั่งในสมอง และการผ่าตัดเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง

รังสีรักษาเนื้องอกในสมอง

รังสีรักษาเนื้องอกสมอง ใช้รังสีพลังงานสูงทำลายเนื้องอกในสมองที่เป็นเซลล์มะเร็งลดความเสียหายต่อเซลล์ปกติ เช่น วิธีการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (IMRT) วิธีการฉายรังสีแบบระบบนาวิถี (IRGT) และวิธีการฉายแบบหมุนรอบตัวผู้ป่วย (VMAT) วิธีเหล่านี้เพิ่มอัตราส่วนของกัมมันตรังสีเพื่อฆ่าเซลล์เนื้องอกและไม่ทำลายเนื้อเยื่อปกติ


เคมีบำบัดรักษาเนื้องอกในสมอง

เคมีบำบัดรักษาเนื้องอกสมอง (Chemotherapy) เป็นการใช้ยารักษาและฆ่าเซลล์เนื้องอก มีทั้งรูปแบบยารับประทานและยาฉีดเข้าเส้นเลือด โดยแพทย์จะจ่ายยาตามความเหมาะสม อาจใช้ยาร่วมกันหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอาการ ลักษณะและความรุนแรงของเนื้องอก หากเป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์มะเร็งที่อวัยวะส่วนอื่น ต้องได้รับยารักษาตามแต่ชนิดของมะเร็งเป็นกรณีไป

> กลับสารบัญ


เนื้องอกในสมองหากพบอาการต้องสงสัยรีบพบแพทย์

สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ อาการแทรกซ้อนของเนื้องอกในสมองอาจส่งผลร้ายแรงหรือความเสียหายถาวรที่นาไปสู่ความพิการทางร่างกาย โคม่า หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตได้ หากพบอาการต้องสงสัย หรือมีอาการดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า ให้รีบมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านสมองและระบบประสาท ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน เพราะเรามีนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทั้งด้านการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคทางสมองและระบบประสาทโดยเฉพาะ ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาการอาจลุกลามมากขึ้น จนยากต่อการรักษาได้

> กลับสารบัญ


ช่องทางติดต่อโรงพยาบาลนครธน:

  1. - Website : https://www.nakornthon.com
  2. - Facebook : Nakornthon Hospital
  3. - Line : @nakornthon
  4. - Tel: 02-450-9999 (ตลอด 24 ชั่วโมง)


ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย




Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย