รังสีร่วมรักษาและวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง ด้วย ไบเพลน (Biplane Angiography)

ศูนย์ : ศูนย์สมองและระบบประสาท

บทความโดย : นพ. กรภัค หวังธนภัทร

รังสีร่วมรักษาและวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง ด้วย ไบเพลน (Biplane Angiography)

รังสีร่วมรักษา เป็นวิธีรักษาโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้เครื่องมือตรวจพิเศษ เช่น เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด (Biplane Angiography) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography) เครื่องอัลตราซาวน์ (Ultrasound) ส่องให้เห็นพยาธิสภาพภายในร่างกาย ซึ่งช่วยให้แพทย์มองเห็นภายในได้อย่างชัดเจนขึ้น และสามารถนำเครื่องมือขนาดเล็กต่าง ๆ ไปทำการตรวจหรือรักษาพยาธิสภาพอย่างแม่นยำ


รังสีร่วมรักษาคืออะไร

รังสีร่วมรักษา คือ การตรวจและรักษาโรคโดยทีมรังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมด้วยเครื่องมือทางรังสีที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วย 2 สาขาคือ รังสีร่วมรักษาระบบประสาทและรังสีร่วมรักษาส่วนลำตัว

  1. รังสีร่วมรักษาระบบประสาท คือ การตรวจและรักษาโรคทางสมองและประสาทไขสันหลัง เช่น โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง โรคหลอดเลือดสมองตีบ-อุดตัน โรคหลอดเลือดปานในสมอง ความผิดปกติของเส้นเลือดและกระดูกสันหลังในระบบประสาทไขสันหลัง
  2. รังสีร่วมรักษาส่วนลำตัว คือ การตรวจและรักษาโรคในส่วนของลำตัว เช่น การรักษามะเร็งตับ โรคหลอดเลือดโป่งพอง โรคหลอดเลือดตีบ โรคหลอดเลือดแดงและดำผิดปกติ การเจาะระบายของเสียภายในร่างกาย การเจาะระบายถุงน้ำดี ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินหายใจ หรือระบบทางเดินอาหาร ภาวะเลือดออกเฉียบพลันจากอุบัติเหตุ และการเจาะชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรว

การรักษาของรังสีร่วมรักษาเป็นอย่างไร

การรักษาของรังสีร่วมรักษาจะใช้อุปกรณ์เฉพาะทางขนาดเล็ก เช่น การใช้สายสวนหลอดเลือด ซึ่งสามารถใส่ผ่านหลอดเลือดเพื่อไปยังรอยโรคตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ และทำการตรวจและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีอุปกรณ์เฉพาะทางในการรักษาโรคเช่น ขดลวดอุดหลอดเลือด ขดลวดค้ำยันเส้นเลือด สารอุดหลอดเลือด บอลลูนขนาดเล็ก ไปจนถึงสามารถฉีดยาเคมีบำบัดผ่านทางสายสวนหลอดเลือดเพื่อให้ฤทธิ์ยาเกิดขึ้นเฉพาะตำแหน่งรอยโรคที่เดียวได้ และยังมีการรักษาอื่นๆ ที่ไม่ผ่านทางหลอดเลือด เช่น การใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ การใช้เข็มให้ความร้อนเพื่อรักษามะเร็งตับ การเจาะระบายของเสียภายในร่างกาย ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กในตรวจและรักษา


อุปกรณ์ทางรังสีร่วมรักษา

นอกจากอุปกรณ์รักษาขนาดเล็กแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในงานรังสีร่วมรักษา คือ อุปกรณ์ทางรังสีต่างๆ ได้แก่

  • เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด (Biplane Angiography) เป็นเครื่องมือสำหรับการตรวจทางรังสีวินิจฉัยหลอดเลือด ถือเป็นหัตถการทางรังสีวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด ซึ่งให้ความถูกต้องและแม่นยำ เป็นหัตถการอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์เฉพาะทางโรคหลอดเลือดสมองและระบบประสาท และทางรังสีในการวินิจฉัยรักษา รวมทั้งในผู้ป่วยบางรายที่พบรอยโรคและไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด หรือมีความเสี่ยงสูงหากทำการผ่าตัด เช่น ในผู้ป่วยสูงอายุ คนไข้ที่ดมยาสลบนานไม่ได้ ผู้ป่วยโรคปอด ฯลฯ
  • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography)
  • ให้ภาพเสมือนจริง เป็นภาพ 3 มิติ ช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของเส้นเลือดในส่วนต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน
  • เครื่องอัลตราซาวน์ (Ultrasound)

ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้สามารถสร้างภาพอวัยวะภายในร่างกายระหว่างการรักษาได้ พร้อมด้วย software ที่ทันสมัยที่สามารถใช้ตรวจหา และวิเคราะห์รอยโรคต่างๆ ได้ ทำให้เกิดความแม่นยำ และ ลดข้อผิดพลาดในการรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้หลังการรักษาจะมีแผลจากการรักษาขนาดเล็ก และภาวะแทรกซ้อนต่ำ ใช้เวลาพักฟื้นสั้น สามารถเป็นทางเลือกการรักษาโดยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ได้ ซึ่งจะใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า


นพ.กรภัค หวังธนภัทร นพ.กรภัค หวังธนภัทร

นพ.กรภัค หวังธนภัทร
ประสาทศัลยศาสตร์/รังสีร่วมรักษาระบบประสาท
ศูนย์สมองและระบบประสาท






ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย