เบาหวานในเด็ก อันตรายไม่แพ้ผู้ใหญ่

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพเด็ก

บทความโดย : นพ. ศุภวุฒิ สุขสันติเลิศ

เบาหวานในเด็ก อันตรายไม่แพ้ผู้ใหญ่

คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเบาหวานเป็นโรคในผู้ใหญ่ แต่ในความเป็นจริงโรคเบาหวานในเด็กก็สามารถเกิดได้เช่นกัน โดยเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามปกติ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง และร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งหากเป็นเบาหวานที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้


ชนิดของโรคเบาหวานในเด็ก

เบาหวานที่พบบ่อยในเด็กมี 2 ประเภท ได้แก่

  • เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ตามปกติ เกิดจากมีภูมิต้านทานตนเองมาทำลายเบต้าเซลล์ของตับอ้อนทำให้ผลิตอินซูลินไม่ได้จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  • เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานในเด็กที่พบได้น้อยกว่าชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ต้องการอินซูลินในปริมาณมากกว่าปกติร่วมกับมีความบกพร่องของการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน มักพบในเด็กโรคอ้วน ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมด้วย

> กลับสารบัญ


อาการเบาหวานในเด็ก

มีอาการสำคัญ คือ ดื่มน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน หรือปัสสาวะรดที่นอน กินเก่ง แต่น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มองเห็นไม่ชัด ถ้ามีอาการรุนแรงจะพบภาวะเลือดเป็นกรด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หายใจหอบลึก ซึม ภาวะขาดน้ำจนช็อก หมดสติได้ สำหรับเบาหวานชนิดที่ 2 มักจะมีอาการช้าๆ ไม่รุนแรง และมีภาวะอ้วนร่วมด้วย พบมีการดื้อต่ออินซูลิน เช่น มีรอยดำและหนาขรุขระที่คอ รักแร้ หรือข้อพับ คล้ายกับขี้ไคล

> กลับสารบัญ


การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในเด็ก

พิจารณาตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในเด็กอ้วนที่มีอายุมากกว่า 10 ปี หรือเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว ที่มีปัจจัยเสี่ยง 2 ใน 4 ข้อดังนี้

  1. บิดา มารดา พี่น้องหรือปู่ย่า ตายาย เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือมารดาเป้นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  2. ความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
  3. เมื่อพบว่าเด็กมีรอยดำและหนาขรุขระที่คอ รักแร้ หรือข้อพับคล้ายกับขี้ไคลขัดไม่ออก ซึ่งเป็นอาการที่แสดงให้เห็นว่ามีภาวะดื้อต่ออินซูลินแล้ว
  4. มีประวัติน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 10 เมื่อเทียบกับประชากรในกลุ่มเดียวกัน ณ อายุครรภ์นั้นๆ

> กลับสารบัญ


การรักษาโรคเบาหวานในเด็ก

  1. การรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยจะต้องได้รับการฉีดอินซูลินทดแทนตลอดชีวิต โดยการฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังวันละ 3-4 ครั้งขึ้นกับวิธีการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย หรือให้ผ่านเครื่องอินซูลินที่ติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง
  2. การรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 ต้องอาศัยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อควบคุมอาหาร ลดน้ำหนักและออกกำลังกาย ควบคู่ไปกับการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด และอาจต้องใช้ยาฉีดอินซูลินร่วมด้วยในบางราย

> กลับสารบัญ


ทั้งนี้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมายการรักา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนระยะยาว เช่น เบาหวานขึ้นจอตา โรคหลอดเลือดหัวใจ ไตวายหรือแผลเบาหวาน เป็นต้น สามารถส่งข้อมูลปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ข้างล่างนี้เลยย




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย