เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียมากขึ้น สัญญาณโรคลิ้นหัวใจรั่ว

ศูนย์ : ศูนย์หัวใจ

บทความโดย : พญ. พัชรี ภาวศุทธิกุล

เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียมากขึ้น สัญญาณโรคลิ้นหัวใจรั่ว

ลิ้นหัวใจทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนเลือดให้เป็นไปตามทิศทางที่ถูกต้อง โดยไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับผิดทาง เมื่อมีการบีบและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ หากเกิดความผิดปกติ มีการเสื่อมสภาพ ชำรุดเสียหาย หรือเกิดโรคลิ้นหัวใจรั่ว ก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น จนเกิดภาวะต่างๆ ทั้ง หัวใจโต เลือดคั่งในหัวใจ เลือดคั่งในปอด ตามมาได้ บางรายก็อาจเสียชีวิตได้เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว


โรคลิ้นหัวใจรั่ว

โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Heart Valve Regurgitation) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท มีรูรั่วหรือขาดเป็นสาเหตุให้เลือดไหลย้อนกลับ หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้เพียงพอ คนที่เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วจะใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ ได้ไม่เต็มที่ เพราะจะทำให้เหนื่อยง่าย บางรายก็อาจเสียชีวิตได้เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว

> กลับสารบัญ


โรคลิ้นหัวใจรั่วแบ่งตามตำแหน่ง

ลิ้นหัวใจมีทั้งหมด 4 ลิ้น เมื่อเกิดลิ้นหัวใจรั่วจะพบดังนี้

  1. ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral Valve Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนและล่างซ้าย เมื่อหัวใจบีบตัวทำให้เลือดไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบน
  2. ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว (Aortic Valve Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดเอออตาร์ จากความผิดปกติแต่กำเนิดหรือลิ้นหัวใจมีการติดเชื้อ เมื่อหัวใจบีบตัวทำให้เลือดที่ไหลไปยังหลอดเลือดเกิดการไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หัวใจห้องล่างซ้าย
  3. ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว (Tricuspid Valve Regurgitation) พบได้บ่อยในภาวะหัวใจห้องขวาล่างโต เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจไตรคัสปิดที่อยู่ระหว่างห้องหัวใจขวาบนและล่าง เมื่อหัวใจบีบตัวทำให้เลือดไหลย้อนกลับขึ้นไป และทำให้ปริมาณเลือดที่ส่งไปยังปอดลดลง
  4. ลิ้นหัวใจพัลโมนารีรั่ว (Pulmonary Valve Regurgitation) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจพัลโมนารีที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องขวาล่างและปอด เมื่อหัวใจบีบตัว เป็นเหตุให้เลือดไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องล่างขวา จนปอดได้รับออกซิเจนที่ถูกลำเลียงไปกับเลือดไม่เพียงพอ ทั้งนี้พบได้น้อยมากหรือเกิดจากภาวะความดันในปอดสูง

> กลับสารบัญ


ลิ้นหัวใจรั่วเกิดจากอะไร

โรคลิ้นหัวใจรั่ว ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป โดยอาจไม่มีอาการใดๆ ในวัยเด็ก หรือตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจสั่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น รวมไปถึงสาเหตุอื่นๆ ได้แก่

  • ลิ้นหัวใจเสื่อมตามอายุ มักพบในวัยผู้สูงอายุ เกิดจากการเสื่อมสภาพ ซึ่งเนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจมีความเสื่อมและมีหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจ จนทำให้การเปิดหรือปิดของลิ้นหัวใจผิดปกติและนำไปสู่โรคลิ้นหัวใจรั่ว หรือ ทั้งรั่วและตีบ
  • โรคหัวใจรูมาติก มักพบในเด็กอายุ 5 ขวบขึ้นไป สาเหตุเกิดหลังการติดเชื้อที่บริเวณคอแล้วเกิดอาการอักเสบตามมาซึ่งจะมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ และลิ้นหัวใจ ทำให้มีลิ้นหัวใจรั่ว หรือถ้าเป็นเรื้อรังทำให้ลิ้นหัวใจตีบ
  • โรคลิ้นหัวใจรั่วจากการติดเชื้อ เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และตัวเชื้อโรคไปเกาะกินที่ลิ้นหัวใจ
  • ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและเกิดลิ้นหัวใจรั่วตามมา กลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี หรือผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนไปแล้ว ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน สูบบุหรี่ กรรมพันธุ์ เป็นต้น

> กลับสารบัญ


สัญญาณอาการโรคลิ้นหัวใจรั่ว

โรคลิ้นหัวใจรั่วถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะโรคนี้มักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก แต่จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแต่ก็ไม่รุนแรง และจะแสดงอาการรุนแรงเมื่ออายุประมาณ 40 - 50 ปี จนทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยและอ่อนเพลียมากขึ้น เกือบๆ จะทุกการเคลื่อนไหว โดยอาการที่พบบ่อยในโรคลิ้นหัวใจรั่ว ได้แก่

  • ลิ้นหัวใจรั่วทางด้านขวา ประสิทธิภาพในการทำงานของอวัยวะฝั่งนั้นก็จะลดลง จะมีอาการ ได้แก่ ขาบวม ท้องอืด ตับโต หัวใจทางขวาบวม คอโป่ง หน้าบวม
  • ลิ้นหัวใจรั่วทางด้านซ้าย จะทำให้มีอาการเหนื่อยเร็วขึ้นเมื่อออกแรง หรือมีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว คือ เหนื่อยมาก หอบ นอนราบไม่ได้ หายใจลำบาก

> กลับสารบัญ



ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

ลิ้นหัวใจรั่วตรวจวินิจฉัยอย่างไร

การตรวจวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่วสามารถทำได้โดยตรวจการทำงานของหัวใจได้ ผ่านด้วยการฟังเสียงหัวใจ และการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) ซึ่งเป็นการตรวจด้วยอุปกรณ์คลื่นเสียงความถี่สูง โดยอุปกรณ์จะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปและจำลองภาพของหัวใจ วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์เห็นความผิดปกติของลิ้นหัวใจได้ ว่ารั่วแบบไหน และประเมินความรุนแรงของตัวโรคว่ารั่วมาก หรือรั่วน้อยและมีข้อบ่งชี้ในการรักษาต่อไปอย่างไร

> กลับสารบัญ


ลิ้นหัวใจรั่ว รักษายังไง

ลิ้นหัวใจรั่วไม่ผ่าตัดได้ไหม? สามารถทำได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการลิ้นหัวใจรั่วไม่รุนแรง ชำรุดเพียงเล็กน้อย หรือปานกลาง แพทย์จะแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวและเฝ้าระวังติดตามอาการ และจะรักษาด้วยการให้ยาขับปัสสาวะเพื่อช่วยเสริมการทำงานของหัวใจให้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก มีลิ้นหัวใจรั่วมาก จนกระทั่งกล้ามเนื้อที่พยุงการปิด-เปิด ลิ้นหัวใจเกิดการหย่อนยาน ปูด หรือหนา แพทย์จะพิจารณาใช้วิธีรักษาด้วยการผ่าตัด ดังนี้

  1. การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ (Valve Repair) ในกรณีที่ลิ้นหัวใจถูกทำลาย ฉีกขาดหรือรั่ว สามารถผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจให้กลับมาเป็นปกติได้ เป็นการผ่าตัดซ่อมแซมแก้ไขส่วนที่เสียหายของลิ้นหัวใจ โดยการลอกหินปูนที่จับตัวออก และใช้เนื้อเยื่อหัวใจของผู้ป่วยเองมาซ่อมแซม ทำให้ไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกาย และสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงแบบเดิม
  2. การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (

> กลับสารบัญ


การรักษาโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกโดยไม่ต้องผ่าตัด

ในปัจจุบันการรักษาโรคลิ้นหัวใจที่เกิดจากลิ้นหัวใจเอออร์ติก (aortic valve) สามารถทำได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ด้วยเทคโนโลยีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด หรือ TAVI (Transcatheter Aortic Valve Implantation) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า TAVR (Transcatheter Aortic Valve Replacement) ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ลดความเสี่ยงอันเกิดจากการผ่าตัด ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้รวดเร็ว

เทคโนโลยีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (TAVI) เป็นการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเดิมที่เสื่อมสภาพหรือใช้การไม่ได้ ด้วยการใช้สายสวนผ่านหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ แล้วใช้ลิ้นหัวใจแบบเนื้อเยื่อยึดติดกับขดลวดพิเศษ ส่งขึ้นไปถึงตำแหน่งลิ้นหัวใจเอออร์ติกด้วยระบบท่อนำทาง จากนั้นปล่อยลิ้นหัวใจเทียมให้กางออก เพื่อทำหน้าที่แทนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเดิม

> กลับสารบัญ


ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว

  • ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว มักจะมีอาการหอบเหนื่อยง่าย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงกิจกรรม หรือการออกกำลังกาย ที่ต้องออกแรงเยอะๆ
  • หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีรสจัด ได้แก่ เค็มจัด มันจัด
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • ก่อนทำฟันทุกอย่าง หรือการผ่าตัดใด ๆ ควรแจ้งแพทย์ก่อนว่าป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • หากอาการไม่รุนแรง สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างคนทั่วไป แต่ควรหมั่นสังเกตร่างกายตัวเองเป็นระยะ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

> กลับสารบัญ


การป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว

ในกรณีที่ไม่ได้เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วที่ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด มีวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงได้ดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีน้ำตาล ไขมัน และเกลือโซเดียมสูง
  • งดสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะคอเลสเตอรอลสูง เป็นต้น
  • เมื่อเกิดอาการแน่นหน้าอกหรือความผิดปกติที่เกี่ยวกับหัวใจ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

> กลับสารบัญ


โรคลิ้นหัวใจรั้วมักจะไม่ค่อยแสดงอาการ ให้หมั่นสังเกตตัวเอง และตรวจเช็คร่างกายและสุขภาพหัวใจทุกปี แต่หากพบว่ามีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย เท้าบวม ควรจะพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เมื่อพบรอยโรคจะได้รักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อชะลอโรคและไม่ให้ลิ้นหัวใจ เสื่อมเร็วกว่าที่ควร

พญ.พัชรี ภาวศุทธิกุล พญ.พัชรี ภาวศุทธิกุล

พญ.พัชรี ภาวศุทธิกุล
อายุรศาสตร์/อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
ศูนย์หัวใจ




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย