การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้หญิงวัยทอง

ศูนย์ : ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร

บทความโดย : นพ. องอาจ บวรสกุลวงศ์

การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้หญิงวัยทอง

ฮอร์โมนทดแทน คือ การรักษาวัยทองโดยใช้ยากลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน มีโครงสร้างเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย ซึ่งอาจให้ร่วมกับฮอร์โมนเพศหญิงอีกตัวหนึ่ง คือฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อกันภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาการรักษาโดยแพทย์ ผู้หญิงวัยทองที่จะรับ ฮอร์โมนทนแทนจึงต้องผ่านการตรวจประเมินเบื้องต้นก่อน


ประโยชน์ของการให้ฮอร์โมนทดแทน

  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ป้องกันโรคหัวใจ
  • ลดอาการวัยทอง
  • ลดอาการร้อนวูบวาบ
  • ลดอาการช่องคลอดแห้ง และคัน ทำให้ช่องคลอดไม่แห้ง
  • ลดอาการปัสสาวะเล็ด
  • ใช้ลดอารมณ์แปรปรวน และนอนไม่หลับ

อาการและผลข้างเคียงของการใช้ฮอร์โมนทดแทน

  • เลือดออกทางช่องคลอด พบได้บ่อย และทำให้ไม่อยากใช้ฮอร์โมนทดแทน ส่วนใหญ่พบได้ในช่วง 3-6 เดือนแรกที่เริ่มใช้ฮอร์โมนทดแทน และเมื่อใช้ฮอร์โมนทดแทนอย่างสม่ำเสมอ เลือดที่ออกทางช่องคลอดจะหายไปเอง
  • อาการเจ็บเต้านม อาการนี้จะเป็นเฉพาะช่วงแรกที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนเท่านั้น หลังจากนั้นจะลดลงและหายไป
  • อาการปวดศีรษะไมเกรน
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น สตรีวัยทองส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่ายอยู่แล้ว ฮอร์โมนทดแทนไม่ได้ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก สาเหตุของการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาจากการดำเนินชีวิตประจำวันโดยเฉพาะความไม่สมดุลระหว่างอาหาร การออกกำลังกาย และอัตราการเผาผลาญอาหารในร่างกายที่ลดลง อย่างไรก็ตาม การให้ฮอร์โมนทดแทนจะให้ในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น ไม่มีการให้เกินขนาด ดังนั้นอาการข้างเคียงจึงมีน้อย






ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย




Share :

บทความทางการแพทย์ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอคอนเทนต์และโฆษณาที่ท่านอาจสนใจเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์ของเราต่อไปโดยไม่ได้ปรับการตั้งค่าใดๆ เราเข้าใจว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา คลิกเพื่อดูข้อเพิ่มเติม