ปวดท้องประจำเดือน สัญญาณเตือน “ช็อกโกแลตซีสต์”

ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพสตรี

บทความโดย :

ปวดท้องประจำเดือน สัญญาณเตือน “ช็อกโกแลตซีสต์”

ถ้าพูดถึงโรค "ช็อกโกแลตซีสต์" (Chocolate Cyst) เชื่อว่าผู้หญิงหลายคนคงคุ้นกับชื่อนี้ แต่มีใครทราบหรือไม่ว่า ความจริงแล้วโรคนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่” ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ คือ อยู่ในช่วงอายุ 30-50 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้น

สัญญาณเตือนที่เริ่มบ่งบอกว่าคุณอาจมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดท ี่คือการมีอาการปวดท้องประจำเดือนที่ผิดปกติไปจากเดิม แล้วอาการปวดท้องประจำเดือนแบบไหน ที่อาจจะเป็นสัญญานเตือนของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันค่ะ


โรคช็อกโกแลตซีสต์เกิดจากอะไร?

โดยปกติ ภายในโพรงมดลูกจะมีเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งจะหนาตัว มีเลือดคั่ง จากนั้นก็จะสลายตัวออกมาเป็นประจำเดือนเป็นวงจรแบบนี้ทุกเดือน แต่ในบางราย เยื่อบุโพรงมดลูกอาจไปเจริญเติบโตนอกโพรงมดลูก เช่น ที่บริเวณรังไข่ ท่อนำไข่ กระเพาะปัสสาวะและลำไส้ จึงทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อโดยรอบจนเกิดเป็นฟังผืดอยู่ภายในช่องท้อง ทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือน หรือปวดท้องเรื้อรัง หากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อยู่บริเวณรังไข่ก็จะกลายเป็นถุงน้ำ หรือซีสต์ มีขนาดเท่าไข่ไก่ หรือผลส้ม มีเลือดคั่งอยู่ข้างใน ลักษณะเป็นของเหลวสีคล้ายกับช็อกโกแลต จึงเรียกว่า ‘ถุงน้ำช็อกโกแลต’ หรือ ‘ช็อกโกแลตซีสต์’ นั่นเอง


โรคช็อกโกแลตซีสต์นี้มีอาการอย่างไร?

ในบางราย อาจโชคดีตรวจพบโรคช็อกโกแลตซีสต์จากการตรวจสุขภาพประจำปี โดยยังไม่มีอาการเจ็บป่วยแสดง แต่ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการ

  • อาจมีอาการปวดประจำเดือน ซึ่งจะปวดรุนแรงในช่วงวันท้าย ๆ ของการมีประจำเดือน
  • อาจมีอาการปวดประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 25 ปี
  • ประจำเดือนมามากกว่าปกติ หรือมาแบบกระปริดกระปรอย
  • ปวดท้องน้อยหลังมีเพศสัมพันธ์
  • คลำพบก้อนบริเวณท้องน้อย ซึ่งเกิดจากขนาดของถุงน้ำที่รังไข่โตขึ้น
  • ปวดขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ
  • ในกรณีที่ถุงน้ำช็อกโกแลตแตก จะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงเฉียบพลัน
  • ร้อยละ 60-70 ของผู้ที่มีประวัติว่ายังไม่คเคยมีบุตรมาก่อน ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีบุตรยาก

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์นี้หรือไม่?

หากมีอาการข้างต้นหรือสงสัยว่าตนเองเป็นโรคช็อกโกแลกซีสต์ ควรเข้ารับการซักประวัติและตรวจวินิจฉัยโดยสูติ-นรีแพทย์ ด้วยวิธีการตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจภายใน หรือการอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกราน เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในมดลูก เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม


ช็อกโกแลตซีสต์ จำเป็นต้องรักษาหรือไม่ และรักษาอย่างไร?

ในรายที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรงมากนัก แพทย์อาจให้สังเกตอาการร่วมกับการใช้ยากลุ่มฮอร์โมนในการรักษาและตรวจติดตามอาการเป็นระยะ แต่ในกรณีที่ให้ยาแล้วยังไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาใช้วิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งวิธีนี้แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หลังผ่าตัด และยังให้ผลการรักษาได้ดีเทียบเท่ากับการรักษาแบบมาตรฐานอีกด้วย




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอคอนเทนต์และโฆษณาที่ท่านอาจสนใจเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์ของเราต่อไปโดยไม่ได้ปรับการตั้งค่าใดๆ เราเข้าใจว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา คลิกเพื่อดูข้อเพิ่มเติม