Q&A เมื่อผู้สูงอายุดื้อ ผู้ดูแลจะรับมืออย่างไร

ศูนย์ : คลินิกผู้สูงอายุ

บทความโดย :

Q&A เมื่อผู้สูงอายุดื้อ ผู้ดูแลจะรับมืออย่างไร

"บอกไม่ให้กินไอศกรีมเพราะเป็นเบาหวาน ก็ยังกิน" "บอกอย่าออกไปข้างนอกตอนกลางวัน ก็ยังไป" "ชอบพูดจาประชดประชันใส่เมื่อไม่ให้นอนดึก" ลูก หลาน หรือผู้ดูแลคนไหนเคยเจอประสบการณ์แบบนี้บ้าง เคยสงสัยไหมว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น และจะมีวิธีรับมือกับผู้สูงอายุดื้อได้อย่างไร วันนี้เราได้รวบรวมคำถามของผู้ดูแลพร้อมคำตอบมาให้แล้วค่ะ


Q: ทำไมผู้สูงอายุดื้อ

A: ความดื้อของผู้สูงอายุ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ผู้สูงอายุหลังจากผ่านเรื่องราวที่หลากหลายแล้ว ก็ชอบจะทำตามสิ่งที่เป็นความเคยชิน ไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในชีวิต อาชีพ การงาน ยิ่งจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงก็จะยิ่งดื้อ การที่ต้องพึงพาอาศัยผู้อื่นไม่สามารถทำในสิ่งที่ตนเองทำได้เช่นเมื่อก่อน ความเศร้าจากการสูญเสีย การสูญเสียการได้ยินและการมองเห็นไม่ชัดเจน ทำให้ต้องพูดหรืออธิบายซ้ำๆ ซึ่งจะนำไปสู่อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวได้ รวมไปถึงภาวะความเจ็บป่วย เช่น โรคสมองเสื่อม โรคซึมเศร้า ภาวะของโรคทำให้ผู้สูงอายุดื้อได้เช่นกัน

> กลับสารบัญ


Q: รับมือกับผู้สูงอายุดื้อ ขี้หงุดหงิด และเอาแต่ใจได้อย่างไร

A:

  1. เมื่อผู้สูงอายุดื้อไม่ฟังเหตุผลหรือคำอธิบาย มักจะมีสาเหตุที่ท่านดื้อ โดยให้ค้นหาสาเหตุนั้นว่าเป็นเพราะความไม่เข้าใจ อารมณ์แปรปรวน หรืออยากเรียกร้องความสนใจ หรือมีปัญหาสุขภาพหรือไม่ เพื่อให้สามารถแก้ไขและทำความเข้าใจท่าน
  2. สื่อสาร พูดคุยอย่างเข้าใจ ระวังคำพูดและท่าท่าง รับฟังสิ่งที่ผู้สูงอายุอย่างบอกอย่างตั้งใจ
  3. ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ พูดคุยขอคำปรึกษา เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า สามารถเป็นที่พึ่งพาให้กับครอบครัวได้
  4. ทำกิจกรรมร่วมกันให้มากขึ้น และการพาออกไปท่องเที่ยว เพื่อสร้างความผ่อนคลาย

> กลับสารบัญ


Q: มีเทคนิคให้ผู้สูงอายุยอมอาบน้ำ หรือสระผมไหม

A: แนะนำให้ลองเพิ่มรางวัลตอบแทนที่ผู้สูงอายุอยากได้ แต่จะได้รับเมื่อผู้สูงอายุยอมอาบน้ำสระผม วิธีนี้จะสามารถทำให้ผู้สูงอายุยอมผ่อนปรนได้

> กลับสารบัญ


ผู้สูงอายุ เริ่มใช้ถ้อยคำรุนแรง (เหวี่ยง ๆ) เราควรรับมืออย่างไร ถ้าคุยตรง ๆ จะทำให้ผู้สูงอายุกระทบกระเทือนจิตใจหรือไม่?

A: แนะนำให้ผู้ดูแลปล่อยผ่านและไม่ต้องสนใจคำพูดเหล่านั้น และลองเปลี่ยนหัวข้อการสนทนา นำพาผู้สูงอายุพูดคุยในหัวข้ออื่น ๆ เพื่อลดความเครียดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทั้งต่อตัวผู้ดูแลและผู้สูงอายุ

> กลับสารบัญ


Q: เมื่อไม่ตามใจ ผู้สูงอายุในครอบครัวชอบหนีออกจากบ้าน ทำอย่างไรดี

A: อันดับแรก ต้องสร้างบรรยากาศให้รู้สึกว่า สามารถบอกลูกหรือใช้วิธีการอื่นได้ โดยไม่ต้องหนีออกจากบ้าน อาจเป็นการพูดคุยกันอย่างประนีประนอม ไม่ใช้อารมณ์ใส่กัน เพื่อให้สถานการณ์ไม่ตึงเครียดและเลยเถิดจนถึงขั้นหนีออกจากบ้าน อันดับสอง ทำรายการความเสี่ยง ว่าเรื่องใดบ้างที่จะกระตุ้นให้แม่หนีออกจากบ้าน รวมถึงหาทางออกร่วมกัน ระหว่างแม่และทุกคนในบ้าน ว่าจะสามารถตามใจให้ขนาดไหน และสุดท้าย ให้เตรียมแผนติดตามตัว เมื่อผู้สูงอายุหนีออกจากบ้าน เช่น เพื่อนบ้าน/กล้องวงจรปิด

> กลับสารบัญ


Q: ผู้สูงอายุไม่ชอบกินยา บอกว่ากินไปก็ไม่หาย ไม่ชอบกินข้าว บอกว่ากินเจ ถ้าบังคับก็จะบอกว่าไม่อยากเป็นภาระ ปล่อยให้ตายไปเลย ทำอย่างไรดี?

A: เมื่อท่านรู้สึกว่าตัวเขาเป็นภาระ ผู้ดูแลหรือลูก ๆ พยายามแสดงออกให้เข้าใจว่าท่านไม่ใช่ภาระ รวมถึงแสดงให้เห็นว่ายิ่งกินยา ยิ่งกินข้าว จะยิ่งไม่เป็นภาระต่อใคร ๆ และยินดีจะดูแลท่านอย่างนี้ต่อไปได้ หากท่านไม่ยอมกินยาจริง ๆ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อลดจำนวนยาที่จำเป็นต้องกินให้เหลือยาน้อยที่สุด

> กลับสารบัญ


Q: เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้สูงอายุที่เราดูแล เป็นโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์

A: หากมีอาการหลงลืมแล้วรู้ตัวว่าลืม หรือลืมแลัวกลับมานึกขึ้นได้ มักเป็นหลงลืมธรรมดา แต่หากมีอาการไม่รู้ตัวว่าตัวเองลืม มักมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ควรเข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาต่อไป

> กลับสารบัญ


Q: ถ้าสงสัยว่าตัวเราที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุมีอาการซึมเศร้า เราจะรู้ตัวได้อย่างไร

A: สำหรับท่านที่มีความสงสัยว่าจะมีอาการซึมเศร้า แนะนำทำแบบประเมินเบื้องต้น https://www.rama.mahidol.ac.th/th/depression_risk (ขอขอบคุณแบบประเมินจาก คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) หากทำแบบประเมินแล้วมีความเสี่ยงสูง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อทำการรักษาต่อไป

> กลับสารบัญ


Q: ผู้สูงอายุ มีอาการติดคน อยากให้อยู่ด้วยตลอดเวลา จนคนดูและไม่มีเวลาส่วนตัว ออกไปไหนไม่ค่อยได้ ทำอย่างไรดี

A: หากสามารถทำได้ แนะนำให้หาคนดูแลเพิ่มเติม เพื่อผู้ดูแลจะได้มีเวลาพักผ่อน หรือให้บุคคลอื่นมาช่วยงานผู้ดูแลทำงานบางอย่างที่พอจะทำแทนได้ เพื่อให้ผู้ดูแลมีเวลามากขึ้น ในการใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ตามความต้องการ และเพื่อลดความเครียดของตัวผู้ดูแลอีกด้วย

> กลับสารบัญ


อย่างไรก็ตามการดูแลผู้สูงอายุจำเป้นต้องอาศัยความรัก ควบคู่ไปความใส่ใจ เข้าใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิต และสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สามารถสอบถามข้อมูลหรือปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ข้างล่าง




ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย