ตรวจโรคทางสมองอย่างแม่นยำด้วยเครื่อง MRI

ศูนย์ : ศูนย์สมองและระบบประสาท

บทความโดย :

ตรวจโรคทางสมองอย่างแม่นยำด้วยเครื่อง MRI

การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging) หรือที่เรียกว่า MRI เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นวิทยุร่วมกับคลื่นสนามแม่เหล็ก สร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้รังสีเอกซเรย์ในการทำให้เกิดสัญญาณการสร้างภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาวและแนวเฉียง แบบ 3 มิติ ภาพถ่ายที่ได้จึงมีความคมชัดสูง มีความใกล้เคียงกับอวัยวะจริงมากที่สุด แพทย์จึงเห็นสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และมีความแม่นยำสูง


การตรวจสมองด้วยเครื่อง MRI

เครื่อง MRI จะแสดงภาพระบบอวัยวะครั้งละระบบ เช่น การตรวจสมอง จะแสดงภาพของเนื้อเยื่อสมอง และอวัยวะอื่น ๆ บริเวณสมอง โดยการตรวจด้วยเครื่อง MRI ผู้ป่วยต้องเข้าไปนอนในเครื่องที่มีลักษณะคล้ายอุโมงค์ จึงสามารถดูได้ทุกระนาบโดยไม่ต้องทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่สำคัญคือ ผู้ป่วยไม่ได้รับรังสีเอกซเรย์ และไม่รู้สึกเจ็บปวดใด ๆ


MRI สามารถตรวจวินิจฉัยโรคใดได้บ้าง?

นอกจากเครื่อง MRI จะสามารถตรวจวินิจฉัยโรคทางสมองได้อย่างแม่นยำแล้ว ยังสามารถตรวจหาโรคต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ดังนี้

  • ตรวจสมอง
  • ตรวจหัวใจ
  • ตรวจอวัยวะในช่องท้องและทรวงอก
  • ตรวจกระดูกสันหลัง
  • ตรวจหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำทั่วร่างกาย
  • ตรวจระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ
  • ตรวจท่อทางเดินน้ำดี และถุงน้ำดี
  • ตรวจเต้านม

การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่อง MRI ดีอย่างไร?

  • สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อได้อย่างชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น
  • ใช้ได้ดีกับการตรวจสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง เส้นประสาทในร่างกาย กล้ามเนื้อ ตรวจเส้นเลือดได้ โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสี และการสวนสายยาง ซึ่งมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบัน
  • การตรวจด้วยเครื่อง MRI ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อเพราะไม่ใช้คลื่นรังสี
  • ปัจจุบันการตรวจด้วยเครื่อง MRI สามารถตรวจพบความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว มีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค สามารถบอกขอบเขตของโรคได้ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาโรคต่อไป

การเตรียมตัวก่อนการตรวจด้วยเครื่อง MRI

  • กรณีผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือ ไม่ต้องงดน้ำและอาหารก่อนตรวจ
  • กรณีผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือ ต้องได้รับยานอนหลับ หรือยาสลบ ต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4 - 6 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
  • กรณีตรวจอวัยวะในช่องท้องหรือตรวจระบบทางเดินน้ำดี ต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4 - 6 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
  • ควรงดใช้เครื่องสำอางบางชนิดก่อนตรวจ เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้
  • ผู้ป่วยติดเครื่องกระตุ้นหัวใจหรือเครื่องมือที่ฝังอยู่ในร่างกาย หรือใส่เหล็กจัดฟัน ต้องผ่านดุลพินิจจากแพทย์ก่อน
  • ผู้ป่วยที่ต่อผมปลอมอาจมีสารบางชนิดที่รบกวนการแสดงผลการตรวจ

การเตรียมตัวก่อนการตรวจด้วยเครื่อง MRI

  • ระหว่างการตรวจผู้ป่วยต้องไม่ขยับ หรือเคลื่อนไหวส่วนที่ตรวจเพื่อจะได้ภาพชัดเจน
  • ขณะตรวจจะมีเสียงดังจากเครื่องเป็นระยะ ๆ จะมีฟองน้ำอุดหู เพื่อลดเสียง
  • ระยะเวลาในการตรวจขึ้นอยู่กับอวัยวะที่จะตรวจเฉลี่ยประมาณ 30 – 40 นาที

Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย