ไขข้อสงสัย วัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและระบบประสาท

ศูนย์ : ศูนย์สมองและระบบประสาท

บทความโดย : นพ. ชาญวิทย์ อนุเคราะห์วิทยา

ไขข้อสงสัย วัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและระบบประสาท

จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในขณะนี้ การฉีดวัคซีนโควิด-19 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดความรุนแรงของอาการป่วยและลดการเสียชีวิตได้ ปัจจุบันผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและระบบประสาท มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ซึ่งก่อให้เกิดอาการรุนแรงและเกิดภาวะปอดอักเสบติดเชื้อหรือเสียชีวิตได้ จึงควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเร็วเพื่อช่วยลดความรุนแรงและอัตราตายจากการติดเชื้อโควิด-19


การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและระบบประสาท

หลายคนอาจมีข้อกังวล และข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและระบบประสาท เพื่อไขข้อสงสัยต่างๆ จึงได้มีคำแนะนำ ดังนี้

  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สามารถฉีดได้ ยกเว้นผู้ที่อาการยังไม่คงที่ หรือมีอาการอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งแพทย์ประจำตัวพิจารณาแล้วว่ายังไม่ควรฉีด โดยมีรายละเอียดดังนี้
    • กรณีที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด (Aspirin, Clopidogrel, Cilostizol) สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ควรใช้เข็มขนาดเล็ก และไม่ควรคลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน
    • กรณีที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด (dabigatan, ivaroxaban, apixaban,edoxaban) และยาชนิด Warfarin ควรตรวจระดับการแข็งตัวของเลือด (INR) ก่อนฉีดวัคซีน หากมีผลตรวจระดับการแข็งตัวของเลือด (INR) อยู่ในระดับต่ำกว่า 4.0 ภายใน 1 สัปดาห์ หรือ มีระดับต่ำกว่า 3.0 ไม่จำเป็นต้องหยุดหรือปรับขนาดยาก่อนฉีดวัคซีน สามารถแดวัคซีนได้ แต่ควรใช้เข็มขนาดเล็กและไม่ควรคลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน
  2. ผู้ป่วยโรคลมชัก สามารถฉีดได้วัคซีนโควิด-19 ได้ แต่หลังการฉีดวัคซีนอาจมีไข้ และปวดศีรษะ แนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยาแก้ปวด (NSAID) เพื่อลดอาการปวดศีรษะ ทั้งนี้อาการไข้อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ และไข้อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้
  3. ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทอื่นๆ โรคทางระบบประสาทอื่นๆ อาทิ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคเซลประสาทสั่งการเสื่อมตัว โรคเส้นประสาทและกล้ามเนื้อจากพันธุกรรม ปวดศีรษะไมเกรน เป็นต้น สามารถฉีดวัคซีนได้ ไม่จำเป็นต้องหยุดหรือปรับขนาดยาก่อน
  4. ผู้ป่วยโรคระบบประสาทภูมิคุ้มกัน ในผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยโรคทางระบบประสาทภูมิคุ้มกัน เช่น โรคสมองอักเสบ โรคปลอกประสาทอักเสบ โรคเส้นประสาทอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง โรคกล้ามเนื้ออักเสบหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเส้นประสาทสมองอักเสบ เป็นต้น ไม่เป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีน ยกเว้นการฉีดวัคซีนในขณะที่อาการไม่คงที่หรือมีภาวะโรครุนแรงที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ให้รอจนกว่าอาการจะคงที่โดยให้แพทย์พิจารณาเป็นรายๆ ไป สำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่เริ่มยากดภูมิและรอได้ ให้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มก่อนเริ่มยาอย่างน้อย 2 สัปดาห์

ทั้งนี้ผ ู้ป่วยกลุ่มนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อให้แพทย์ประเมินระยะอาการของโรคและยาที่ใช้อยู่ว่าสามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่


อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะฉีดวัคซีนแล้ว แต่ต้องระมัดระวังตนเองจากการติดเชื้อ หมั่นล้างมือ เว้นระยะห่าง การสวมหน้ากาก และหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชุนแออัดเช่นเดิม เพราะแม้ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาแล้ว ก็ยังสามารถมีโอกาสติดโรคโควิด-19 ได้

*** อ้างอิงข้อมูลจาก สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทยและ เครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet)




นพ.ชาญวิทย์ อนุเคราะห์วิทยา นพ.ชาญวิทย์ อนุเคราะห์วิทยา

นพ.ชาญวิทย์ อนุเคราะห์วิทยา
ประสาทวิทยา/โรคหลอดเลือดสมองและการตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นความถี่สูง
ศูนย์สมองและระบบประสาท






ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย




Share :

แพ็กเกจ/โปรโมชั่น

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย